ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

ผู้แต่ง

  • เอื้อใจ แจ่มศักดิ์
  • อำภาพร นามวงศ์พรหม
  • น้ำอ้อย ภักดีวงศ์

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ NURSING PROTOCOL, VENTILATOR ASSOCIATED PNEUMONIA

บทคัดย่อ

This retrospective and prospective uncontrolled before and after intervention study aimed to investigate the effects of nursing protocol on rate of ventilator associated pneumonia in patients with mechanical ventilator. Sixty four patients with ventilator were purposively selected for this study. Thirty two patients in the retrospective group received a usual care while 32 in the prospective group received the evidence-based nursing protocol developed by the researcher. Data regarding results were collected from the patients chart and the recorded form. Data were analyzed by using Fisher’s Exact test.

The finding showed that the rate of ventilator associated pneumonia of the prospective group was significantly lower than that of the retrospective group (p = .026). The results of this study will benefit nursing care of patients with ventilator to prevent ventilator associate pneumonia.

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ (Comparative study) แบบ Retrospective and Prospective Uncontrolled before and after Intervention Study เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนัก กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 64 รายประกอบด้วย กลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติจำนวน 32 รายและกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติจำนวน 32 ราย โดยกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติเดิมของสถาบัน ในขณะที่กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ เก็บรวบรวมข้อมูลผลการวิจัยโดยใช้แบบบันทึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ความแตกต่างของอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Fisher’s Exact test

ผลการวิจัยพบว่าอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติต่ำกว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =.026) ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ในการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ

Downloads