ผลลัพธ์ของการให้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วรรณภรณ์ พัฒนิบูลย์
  • บุษบา วงค์พิมล

คำสำคัญ:

โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ระยะเวลารอรับยาละลายลิ่มเลือด อัตราตาย ST segment elevation MI (STEMI), Door to needle time (DTN), Mortality

บทคัดย่อ

The objective of this comparative study was to compare the outcomes of moving the site of thrombolytic delivery from the coronary care unit (CCU) to the emergency department (ED)  in 549 bed general hospital Northeastern Thailand without on-site primary angioplasty. Study patients presenting to hospital with ST elevation MI (STEMI) on October 2011-August 2012. Who had a confirmed STEMI and received thrombolytic therapy in the ED were defined as the ED group; those who were diagnosis as STEMI and received thrombolytic therapy in the CCU were defined as  the CCU group. Study instruments implemented were questionnaire and medical record from.   Independent sample t- test was used to compare mean and Chi-Square test used to compare mortality rate.

Result: 195 patients were discharged from CCU with a diagnosis of STEMI. Almost of the participants were male(72.8%). Sixty one point five percent were elderly and the mean age was 62.30 years. The risk factors were 27.7% with diabetes mellitus, 30.3% hypertension, 32.3% current cigarette smokers, 16.9% dyslipidemia and 22.1% positive familial history of coronary artery disease. There were 52(26.7%) patients in the ED group, 43 (22.1%) patients in the CCU group and 100 (51.3%) patients were not received thrombolytic. Mean DTN time for the ED group was 41.08 minutes and mean DTN for the CCU group was 81.40 minutes. The mean DTN was significantly difference (p<.002, Independent sample t- test). The ED group had a lowest mortality rate was 7.7%, the CCU group was 9.3%, and  In the cases that did not received thrombolytic therapy mortality rate up to 11.0%. When compared mortality rate did not significance difference. Conclusion: A significance reduction in DTN accompanied this change in practice in this hospital.

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ (Comparative study)นี้ เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการได้รับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วย STEMI ระหว่างกลุ่มที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน กลุ่มที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดที่หอผู้ป่วย CCU และกลุ่มที่ไม่ได้รับยา ในโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 549 เตียง ที่ไม่มีศักยภาพในการรักษาเปิดหลอดเลือดด้วยการทำ primary PCI กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วย STEMI ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ในเดือนตุลาคม 2554 - สิงหาคม 2555 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย  1) ข้อมูลทั่วไปและประวัติปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด และ 2) ข้อมูลการรักษาและการวินิจฉัยโรคครั้งสุดท้าย วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระยะเวลารอรับยาละลายลิ่มเลือด โดยใช้สถิติ Independent t-test และเปรียบเทียบอัตราตายโดยใช้สถิติ Chi-square test

ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 195 ราย เป็นเพศชายร้อยละ72.8 อายุเฉลี่ย 62.30 ปี เป็นผู้สูงอายุร้อยละ 61.5 พบปัจจัยเสี่ยงเป็นเบาหวานร่วมด้วยร้อยละ 27.7 ความดันโลหิตสูงร้อยละ 30.3 เป็นผู้ที่สูบบุหรี่และเคยสูบแต่หยุดแล้วไม่เกิน 2 ปีร้อยละ 32.3 มีภาวะไขมันในเลือดสูงร้อยละ 16.9 และมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือดร้อยละ 22.1 ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (Streptokinase) ที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินร้อยละ 26.7 ได้รับยาที่หอผู้ป่วย CCU ร้อยละ 22.1 และไม่ได้รับยาร้อยละ 51.3กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับละลายลิ่มเลือดที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินมีค่าเฉลี่ยระยะเวลารอรับยาละลายลิ่มเลือดต่ำกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยาที่หอผู้ป่วย CCU เท่ากับ 41.08  และ 81.40 นาทีตามลำดับ โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกลุ่มที่ได้รับละลายลิ่มเลือดที่ตึกอุบัติเหตุฉุกเฉิน มีอัตราตายต่ำที่สุดเท่ากับร้อยละ 7.7 รองลงมาเป็นกลุ่มที่ได้รับยาที่หอผู้ป่วย CCU มีอัตราตายร้อยละ 9.3 และกลุ่มที่ไม่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดมีอัตราตายสูงที่สุดเท่ากับร้อยละ 11.0 โดยอัตราตายของแต่ละกลุ่มไม่มีความแตกต่างทางสถิติ

Downloads