เปรียบเทียบผลการบำบัดเพื่อพัฒนาพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาแบบกลุ่มกับการบำบัดตามปกติในผู้ป่วยจิตเภทโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • จุรัญ อึ้งสำราญ
  • ประคอง นาโพนทัน
  • วัชนี หัตถพนม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภท พฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา ทัศนคติต่อการรักษา Schizophrenic Patients Adherence behavior Attitudes toward treatment *Khon Kaen Rajanagarindra Psychiatric Hospital

บทคัดย่อ

Abstrac

The purpose of this study to compare the effect of Adherence Group therapy (AGT) and Treatment as usual (TAU) on adherence of treatment, attitude, psychotic symptoms and relapse in schizophrenic patients. this is experimental research. Sample were schizophrenic patients who fulfill the inclusion criteria. Sample size was estimated by using GPower3 program and randomize into control and trial group (30 patients/group).The experimental group received five sessions for 60 minutes follow on AGT Program while The control group were in the TAU arm continued receiving standard care Khon Kaen Rajanagarindra Psychiatric Hospital clinical practice guideline (CPG). The measurement consisted of Brief Psychotic Rating Scale: BPRS, Drug Attitude Inventory (DAI-30) and Medication adherence scale. Pre  assessment and follow up after 1 and 3 months were done subjects signed the voluntary consent.   Data analyzed by using descriptive and repeated measures ANOVA. The research following ethical approval obtained from the Institude of Khon Kaen Rajanagarindra Psychiatric Hospital.

Result There was no significant difference in baseline scores of Drug Attitude, Medication adherence and psychotic symptoms between groups. At 1 and 3 months follow up found higher score of Drug Attitude and Medication adherence and lower score of psychotic symptoms both groups. but the group with AGT had higher Drug Attitude, Medication adherence  score, and lower psychotic symptom than control group significantly (0.05) and no relapsing within 3 months after discharge.This study reflect good outcome, that recommended potential choice outcomes service and continue to develop personnel capacity adherence therapy skill and research continually.

 

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการบำบัดเพื่อพัฒนาพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาแบบกลุ่ม (Adherence therapy group :ATG) กับการบำบัดแบบปกติ (Treatment as usual :TAU)ต่อ ทัศนคติ พฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา อาการทางจิต  และการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยจิตเภท เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน คำนวณขนาดตัวอย่างและ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้าศึกษา จากนั้นสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมการบำบัดเพื่อพัฒนาพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา แบบกลุ่ม 5 ครั้งต่อเนื่อง กลุ่มควบคุมได้รับการบำบัดตามปกติตามแนวปฏิบัติของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เครื่องมือวัดผลลัพธ์ ได้แก่ Brief Psychotic Rating Scale: BPRS, Drug Attitude Inventory:DAI-30 และแบบประเมินพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา โดยวัดผลก่อนบำบัดและหลังการบำบัด เดือนที่ 1 และเดือนที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ descriptive และrepeated measures ANOVA  วิจัยนี้ได้ผ่านการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

ผลการศึกษา พบว่าก่อนการศึกษา คะแนนพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา  ทัศนคติและอาการทางจิตระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน แต่หลังทดลองเดือนที่ 1 และเดือนที่ 3 พบว่าทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  มีคะแนนความร่วมมือและทัศนคติเพิ่มขึ้นและอาการทางจิตลดลง แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนความร่วมมือและทัศนคติเพิ่มขึ้นและอาการทางจิตลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และไม่กลับมารักษาซ้ำภายใน 3 เดือน การศึกษาครั้งนี้สะท้อนถึงผลลัพธ์ที่ดี  และเสนอให้มีการนำไปใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการให้บริการแบบมุ่งผลลัพธ์ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยการวางแผนพัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้มีทักษะการบำบัดและการศึกษาวิจัยต่อไป

Downloads