ความพึงพอใจของมารดาที่มีต่อการพยาบาลในระยะรอคลอดที่ได้รับจากนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
คำสำคัญ:
The satisfaction / nursing care during the first stage of labor ความคิดเห็น / การพยาบาลในระยะรอคลอดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของมารดาที่มีต่อการพยาบาลในระยะคลอดทีได้รับจากนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาคลอดปกติที่ได้รับการดูแลจากนักศึกษาพยาบาลในระยะรอคลอด ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือน กรกฎาคม 2553 จำนวน 98 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ชุด แบ่งเป็น 2 ตอน คือข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความพึงพอใจของมารดาที่มีต่อการพยาบาลในระยะรอคลอดที่ได้รับจากนักศึกษาพยาบาล ตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามได้ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่ามารดาส่วนใหญ่ อายุ อยู่ระหว่าง 21- 25 ปี สถานภาพสมรส ศาสนา พุทธ อาชีพ รับจ้างหรือทำงานในบริษัท ระดับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รายได้ของครอบครัวมากกว่า 10,000 บาท ต่อปี เป็นประสบการณ์การคลอดครั้งแรก ของงมารดาที่มีต่อการพยาบาลในระยะรอคลอด ที่ได้รับจากนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
- ความพึงพอใจของมารดาต่อการพยาบาลในระยะรอคลอดที่ได้รับจากนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา อยู่ในระดับดีทุกด้าน( = 4.03)นอกจากนี้ยังเห็นว่านักศึกษาจะเป็นผู้ที่ทำให้เกิดความไว้วางใจและปลอดภัยด้วย คือ “รู้สึกปลอดภัยเพราะมีนักศึกษาดูแลตลอดเวลา”
This descriptive research aimed at study the mother’s satisfaction toward nursing practice by the third year nursing students of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima. The samples were 98 volunteered mothers who had been care at the first stage of labor by nursing students between April to July, 2010. Data were collected by personal data questionnaire and satisfaction toward nursing care during the first stage of labor period questionnaire. The content validity was tested by three experts. The reliability of the questionnaires tested by Cronbach’s alpha coefficient was .92. The data were calculated into percentage, means, standard deviation, and content analysis.
The findings were as follow:
- Most of the personal data of mothers were age between 21- 25 years old, married, Buddhism, working if office or worker, graduated at the high school level, family incomes about 10,000 Baht per year, the first time experience of delivery, and the first time experience of the first stage of labor care by the third year nursing student.