ประสบการณ์ชีวิตของหญิงเวียดนามที่เป็นมะเร็งเต้านม
คำสำคัญ:
ประสบการณ์ชีวิต, มะเร็งเต้านม, เวียดนาม, วิจัยเชิงคุณภาพlived experience, breast cancer, Vietnam, qualitative researchบทคัดย่อ
Abstract
Knowledge about patient’s experience with illness condition promotes health caregiver’s understanding of different problems a patient encounters. Although a great deal of research worldwide described diverse difficult experiences of women with breast cancer, such evidence is lacking in Vietnam in spite of increasing numbers of breast cancer victims. This descriptive qualitative was conducted to fulfill the gap. Study participants were ten women with breast cancer in Thua Thien Hue, Vietnam. In-depth interviews using guided-questions were conducted from May-September 2012. Content analysis was used for data analysis.
Three themes derived from interview data that described difficult experience of Vietnamese women with breast cancer including response to diagnosis, response to treatment, and manage one’s life. Response to diagnosis, first immediate responses to knowing that they had breast cancer involved several emotional and behavioral reactions including shock/surprise, disbelief, angry, fear of death, sad, and depressed. After acknowledging that they had breast cancer, several participants started to think about their treatment options, make decision to treat, and receive treatment. Regardless of the types of treatment, participants experienced several reactions along the process. Responses to treatment of breast cancer included worrying, being afraid, bodily changing, feeling guilty, feeling weak, feeling isolated, having sexual concern, feeling uncertain about future, and having a hope for treatment success.
Managing one’s life described the process and coping strategies that women with breast cancer used to change their life when having breast cancer. It included accepting disease, comparing with other people, having spiritual promoting activity, seeking support, taking care of one’s health, trying not to think about disease, and responding to social reaction. In conclusion, findings from this study reflected a variety of problems that Vietnamese women confronted during diagnosis and treatment process. Those difficulties depended on different circumstances and conditions such as economic status, age, types of adjuvant therapy, and family and social support. Knowledge from this study enlightens caregivers to provide appropriate care for these women.
ความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ขณะเจ็บป่วยของผู้ป่วยจะช่วยให้บุคลากรทางสุขภาพเข้าใจปัญหาต่างๆที่ผู้ป่วยต้องเผชิญขณะเจ็บป่วย แม้ว่าในขณะนี้จะมีองค์ความรู้ค่อนข้างมากเกี่ยวกับประสบการณ์ขณะเจ็บป่วยในสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม แต่หลักฐานดังกล่าวไม่ปรากฏในเวียดนามในขณะที่จำนวนผู้ป่วยด้วยมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น การศึกษาเชิงพรรณนาโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพครั้งนี้ดำเนินการเพื่อตอบคำถามดังกล่าว ผู้ให้ข้อมูลเป็นสตรีชาวเวียดนามที่เป็นมะเร็งเต้านมจำนวน 10 รายที่อาศัยในเขตถัวเทียนเหว ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้คำถามนำในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน 2555 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า มีแนวคิดหลัก 3 ประการที่อธิบายประสบการณ์ยากลำบากที่สตรีชาวเวียดนามต้องเผชิญขณะเจ็บป่วยด้วยมะเร็งเต้านม ประกอบด้วย การตอบสนองต่อการรับรู้ว่าเป็นมะเร็ง การตอบสนองต่อกระบวนการรักษา และการจัดการกับชีวิตของตนเอง โดยในช่วงแรกที่สตรีเหล่านี้รับรู้ว่าตนเองกำลังเผชิญกับมะเร็ง พวกเขาต้องผ่านปฏิกิริยาทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ที่หลากหลาย ได้แก่ ความรู้สึกตระหนก/แปลกใจ ไม่เชื่อ โกรธ กลัวตาย เศร้าสลด และ ซึมเศร้า
หลังจากที่ได้รับรู้ว่าตนเองเป็นมะเร็งเต้านมแล้ว ผู้ให้ข้อมูลเหล่านี้เริ่มคิดถึงทางเลือกในการรักษา ตัดสินใจ และเข้ารับการรักษา โดยไม่ว่าผู้ให้ข้อมูลจะได้รับการรักษาโดยทางใดก็ตาม พวกเขาเผชิญประสบการณ์ต่างๆนาๆในระหว่างกระบวนการรักษา ได้แก่ ความรู้สึกวิตกกังวล ความรู้สึกกลัว การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ความรู้สึกผิด ความรู้สึกอ่อนแอความรู้สึกแปลกแยก ความกังวลใจเรื่องเพศสัมพันธ์ ความไม่มั่นใจในอนาคต และการมีความหวังต่อความสำเร็จของการรักษา
การจัดการกับชีวิตของตน เป็นกระบวนการและวิถีในการเผชิญสำหรับสตรีเหล่านี้เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเองให้อยู่ร่วมกับมะเร็งได้ กระบวนการเหล่านี้ประกอบด้วย การยอมรับโรค การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น การทำกิจกรรมที่ช่วยบำรุงจิตวิญญาณ การแสวงหาความช่วยเหลือ การดูแลสุขภาพของตน การพยายามไม่คิดถึงโรคที่เป็น และการตอบสนองต่อปฏิกิริยาทางสังคม โดยรวมแล้วผลจากการศึกษานี้ช่วยให้เข้าถึงปัญหาต่างๆที่สตรีเวียดนามที่เป็นมะเร็งเต้านมต้องประสบระหว่างรับการวินิจฉัยและรับการรักษา ปัญหาต่างๆดังกล่าวขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยและสถานการณ์แวดล้อม เช่น สถานะเศรษฐกิจ อายุ การรักษาเสริม และการช่วยเหลือจากครอบครัวและสังคม ความรู้ที่ได้จากการศึกษานี้จะช่วยให้ผู้ที่ทำการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในเวียดนามสามารถวางแผนการดูแลที่เหมาะสมต่อไป