การรับรู้ความสามารถแห่งตน สมดุลของการตัดสินใจ และระดับในการปฏิบัติกิจกรรมทางกายของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1
คำสำคัญ:
Physical Activity, Stages of Change, Self-efficacy, Decisional balance, Nursing Studentกิจกรรมทางกาย ระดับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถแห่งตน สมดุลของการตัดสินใจ นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
Abstract
The objective of this research was to examine the relationships between self-efficacy and decisional balance in physical activity and physical activity stages of change. Target of this study was comprised of the 110 first-year nursing students. The data were collected using translated questionnaire, comprised of 4 areas 1) physical activity stages of change, 2) physical activity self-efficacy, 3) physical activity decisional balance, and 4) personal information with overall alpha coefficient of .81. The data were analyzed using percentages, means, standard deviation, one-way ANOVA, and post hoc analyses using Fisher’s LSD.
Major findings were as follows: 1) the majority of nursing students reported practicing physical activity at the maintenance level (49 students, 44.5%) 2) the students reported their self-efficacy in physical activity at an average level ( = 2.91, SD=0.50). Their decisional balance score in physical activity was slightly higher at 3.04 (SD=0.35). Among students from preparation, action, and maintenance stages, decisional balance appeared to be different among these groups, with maintenance group having statistically significant higher score in decisional balance than those from the preparation. No other relationship was found.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้ความสามารถแห่งตน และระดับสมดุลของการตัดสินใจ กับระดับการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามระดับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมกิจกรรมทางกาย 2) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย 3) แบบสอบถามสมดุลของการตัดสินใจในการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย และ 4) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ด้วยการทดสอบของ Fisher’s LSD ด้วยระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .05
ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาพยาบาลมีลักษณะดังนี้ 1) ส่วนใหญ่มีกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับปฏิบัติกิจกรรมทางกายจนเป็นนิสัย (49 คน, 44.5%) 2) มีการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการปฏิบัติกิจกรรมทางกายในระดับปานกลาง ( = 2.91, SD=0.50) 3) มีสมดุลของการตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับดี ( = 3.04, SD=0.35) 4) นักศึกษาพยาบาลที่มีระดับของการปฏิบัติกิจกรรมทางกายแตกต่างกัน 3 ระดับ (ตัดสินใจ ปฏิบัติ ปฏิบัติจนเป็นนิสัย) มีสมดุลของการตัดสินใจในการมีกิจกรรมทางกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่านักศึกษาที่มีพฤติกรรมในระดับปฏิบัติจนเป็นนิสัยมีระดับของสมดุลของการตัดสินใจดีกว่านักศึกษากลุ่มระดับตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ทั้งนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับการปฏิบัติกิจกรรมทางกายและการรับรู้ความสามารถแห่งตน