ผลของรูปแบบการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์ที่คัดสรร ในการดูแลผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด ณ แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน Effects of a Nurse Case Management Intervention on Selected Outcomes among Patient with Type II Diabetes Melli
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การจัดการรายกรณี ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดtype 2 Diabetes Mellitus, a nurse case management, Hypoglycemiaบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นปัญหาที่สำคัญและซับซ้อน ซึ่งต้องการรูปแบบการดูแลที่มีความเฉพาะ การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของรูปแบบการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด ณ แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ต่อผลลัพธ์ที่คัดสรร ซึ่งประกอบด้วย 1) การกลับเข้ารับการรักษาซ้ำใน 72 ชั่วโมงและ 28 วัน 2) ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3) ความพึงพอใจของผู้ป่วย และ4) ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 44 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 รายและกลุ่มควบคุม 22 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2558 ถึงเดือน มิถุนายน 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบรวบรวมข้อมูล 3 ส่วนได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและประวัติการเจ็บป่วย 2)แบบสอบถามความรู้ในการดูแลตนเอง แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยและสหวิชาชีพ 3)แนวทางการดูแลโดยใช้รูปแบบการจัดการรายกรณี โดยทุกเครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้เชี่ยวชาญและตรวจสอบความเที่ยงทั้งฉบับมีค่ามากกว่า 0.80 วิเคราะห์ผลลัพธ์โดยใช้สถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มด้วยสถิติ Paired t-test และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วย independent t- test, mann - whitney U test, wilcoxon matched pairs signed rank test และ relative risk
ผลการศึกษาพบว่า
1. ความเสี่ยงต่อการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังใช้รูปแบบการจัดการรายกรณี หลังจำหน่าย 72 ชั่วโมงน้อยกว่า 0.33 เท่า (RR 0.33; 95% CI 0.01 – 7.76) และหลังจำหน่าย 28 วัน น้อยกว่า 0.14 เท่า (RR 0.14; 95% CI 0.01 – 2.61) หรือร้อยละ 67 และร้อยละ 86 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามระบบปกติ
2. ค่าเฉลี่ยระดับคะแนนความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังใช้รูปแบบการจัดการรายกรณี สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามระบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05
3. ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังใช้รูปแบบการจัดการรายกรณี สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามระบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05
4. ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของสหวิชาชีพ หลังใช้รูปแบบการจัดการรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอาการน้ำตาลต่ำในเลือด สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมการจัดการรายกรณี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05
การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้รูปแบบการจัดการรายกรณี ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด ในแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน สามารถเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดและสามารถลดความเสี่ยงของการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำใน 72 ชั่วโมงและ 28 วัน เพิ่มความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความพึงพอใจของผู้ป่วยและสหวิชาชีพได้
Abstract
Hypoglycemia is crucial problem among patients with type II diabetic mellitus (DM) and need specific model for caring. This quasi experimental study aimed to study the effects of a nurse case management intervention for solving hypoglycemic problem among patients with type II DM at emergency department to improve specific outcomes including 1) revisit in 72 hours and 28 days 2) self-care knowledge 3) patient satisfaction and 4) health care provider satisfaction. Purposive sampling was used to recruit 44 patients and divided into two groups: 22 patients in control group and 22 patients in treatment group. Four research instruments were used in this study consisted of 1) patient information sheet 2) self-care knowledge questionnaire 3) patient satisfaction and health care provider satisfaction questionnaire 4) case management guideline for hypoglycemia. Every questionnaire was appraised validity by experts and the reliability test by using Cronbach’s alpha coefficient was good (0.80). Paired t-test , Independent t- test , Mann - Whitney U test, Wilcoxon matched pairs signed rank test and Relative Risk were used for data analysis.
The results show that :
- Relative risk for revisit among diabetic patients in experimental group at 72 hour less than in control group (RR 0.33; 95% CI 0.01 – 7.76) and relative risk for revisit among diabetic patients in experimental group at 28 days less than in control group (RR 0.14; 95% CI 0.01 – 2.61)
- The mean score of self-care knowledge in experimental was significantly higher than patient in control group (p<0.001)
- The mean score of patient satisfactions in experimental group was significantly higher than patients in control group (p<0.001)
- The mean score of multidisciplinary team satisfaction in experimental group was significantly higher than patients in control group (p<0.001)
The findings indicated that the effects of a nurse case management intervention among patient with type II diabetes mellitus experiencing hypoglycemia symptom at emergency department can be used as a guideline for reduce revisit of patients cause by hypoglycemic problem in 72 hour and 28 days. Moreover this intervention can improve self-care knowledge among patients, and promoted patients and multidisciplinary team satisfaction.