ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บและผลลัพธ์ทางการพยาบาล ในผู้ป่วยบาดเจ็บ The Relationship between Severity of Injuries and Nursing Outcomes in Injured Patients

ผู้แต่ง

  • นิชาภัทร บุษมงคล
  • ชัจคเณค์ แพรขาว

คำสำคัญ:

ผลลัพธ์ทางการพยาบาล, ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บ, ผู้ป่วยบาดเจ็บ, nursing outcomes, severity of injuries, injury patient

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

  การวิจัยเชิงบรรยายแบบตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บและผลลัพธ์ทางการพยาบาลในผู้ป่วยบาดเจ็บ จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ส่วนที่ 1  แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปด้านผู้ป่วย ส่วนที่ 2  แบบบันทึกผลลัพธ์ทางการพยาบาลในผู้ป่วยบาดเจ็บ ได้แก่ 1) ผลลัพธ์ด้านสภาวะการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโดยวัดความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน Barthel index of activities of daily living 2) ผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยวัดผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติฟิชเชอร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บมีความสัมพันธ์ทางลบกับผลลัพธ์ทางการพยาบาลด้านสภาวะการทำหน้าที่ของร่างกายโดยวัดความสามารถทำกิจวัตรประจำวันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.57, p < .05) และมีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ทางการพยาบาลด้านความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยวัดผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ การเกิดแผลกดทับ (p = .003) การติดเชื้อทางเดินหายใจ (p = .001) การติดเชื้อกระแสโลหิต (p = .001) และการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ (p = .046) ซึ่งผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นผลลัพธ์ทางการพยาบาลด้านสภาวะการทำหน้าที่ของร่างกายและด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยบาดเจ็บมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวเนื่องกับความรุนแรงของการบาดเจ็บ

Abstract

                This cross-sectional descriptive study aimed to study the relationship between severity of injuries and nursing outcomes in injured patients. The total samples of 370 patients participated in the study. The tools used in this research were the first recorded data for the patient and the second was nursing outcomes 1) the ability of daily activities as index of activities of daily living 2) result of adverse events. Data were analyzed using statistics Fisher’s exact test and Pearson correlation coefficient. The results showed that  the relative of severity of injuries with nursing outcomes as activities of daily living are negatively correlated  was statistically significant (r = -.57, p = .000), and have statistically significant relationships with the incidence of pressure ulcers (p = .003), respiratory infections (p = .001), septicemia (p = .001) and phlebitis (p = .046). These findings were reflected the results of the nursing outcomes by functional status and patient’s safety that linked and related to the severity of injuries. 

Downloads