ภาพสะท้อนทางความคิดของอาการน้ำตาลในเลือดต่ำตามการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 Illness Representation of Hypoglycemic Symptoms Among Patients with Type two Diabetes Mellitus

ผู้แต่ง

  • ศุภลักษณ์ ศิริวานิชย์
  • นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์

คำสำคัญ:

ภาพสะท้อนทางความคิด น้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 illness representation, hypoglycemia, diabetes mellitus

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยเชิงคุณภาพนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนทางความคิดของอาการน้ำตาลในเลือดต่ำตามการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ที่รับการรักษา ณ โรงพยาบาลชำนิ อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 12 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม – เดือนมีนาคม พ.ศ.2559 โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

                ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีการรับรู้ภาพสะท้อนทางความคิดของอาการน้ำตาลในเลือดต่ำด้านการรับรู้ลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ของการเจ็บป่วยแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ 1) น้ำตาลต่ำ น้ำตาลตก เบาหวานลด น้ำตาลหมด 2) คลุมเครือ แยกไม่ได้ว่าสูงหรือต่ำ และ 3) น็อค การรับรู้สาเหตุของอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ แบ่งออกเป็น 2. สาเหตุ คือ 1)  เกิดจากตนเอง และ 2) เกิดขึ้นเอง/ไม่ทราบสาเหตุ การรับรู้ขอบเขตเวลาของการเจ็บป่วยด้วยอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ 3 ลักษณะ คือ 1) เป็นปุ๊บปั๊บ (ทันทีทันใด) 2) เป็นแล้วไม่หายขาด และ3)ไม่รู้จะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ การรับรู้ว่าอาการน้ำตาลในเลือดต่ำว่า 1) สามารถรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก 2) ควบคุมได้ เป็นแล้วต้องแก้ให้ทัน และการรับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดตามมา 4 ลักษณะ คือ 1) เครียด คิดมาก กังวล 2) อันตราย น่ากลัว 3) เป็นภาระ เกรงใจ และ 4. ไม่สู้งาน

                จากการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงการรับรู้ภาพสะท้อนทางความคิดของอาการน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2ซึ่งมีความหลากหลาย การรับรู้นั้นมีทั้งสอดคล้องและแตกต่างกับทฤษฎีทางการแพทย์ ดังนั้นบุคลากรทีมสุขภาพ จึงควรให้ความสำคัญกับประสบการณ์การรับรู้เฉพาะบุคคล ทั้งนี้เพื่อช่วยให้สามารถดูแลและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมต่อไป

Abstract

                This research is a descriptive qualitative study. The purpose was to study illness representation of hypoglycemic symptoms among patients with type two diabetes mellitus who were admitted at the Chamni community hospital, Buriram province. The 12 participants were selected applying purposive sampling. The collecting of data had been done during January to March 2016. In-depth interview was used for data collection. Data was analyzed by content analysis.

                The results of the study showed that three characteristics of identity of hypoglycemic symptoms included 1) hypoglycemia, 2) unidentified (it is hypoglycemia or hyperglycemia), and 3) “knock” (coma or unconscious). The caused perceptions of hypoglycemic symptoms included 1) my own and 2) unknown. The illness representation of timeline included 1) acute or immediate, 2) uncurable and prolong illness and 3) unpreventable and chance to occur every time. The perception of hypoglycemic symptoms consequences included 1) stress and anxiety, 2) dangerous and fear, 3) dependency and 4) limited work and activity. Perception of cure and controllability of hypoglycemic symptoms included 1) self - care to prevent the recurrent of hypoglycemia, and 2) early managing of hypoglycemia.

                In conclusion the illness representation of hypoglycemic symptoms among patients with type two diabetes mellitusrelatedand not related with medical model. Health care providers should recognize individual perceptionofHypoglycemic symptoms. They can use this information for create and design appropriate health education strategies for patients with type two diabetes mellitus.

Downloads