ผลของโปรแกรมการสอนแนะมารดาต่อพฤติกรรมการดูแลเด็ก วัยเตาะแตะโรคปอดอักเสบ The Effect of Maternal Coaching Program on Caring Behaviors For Toddled With Pneumonia

ผู้แต่ง

  • พัฒนพร ตรีสูนย์
  • ประนอม รอดคำดี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสอนแนะมารดา พฤติกรรมการดูแล เด็กวัยเตาะแตะโรคปอดอักเสบ maternal coaching program caring behaviors toddler with pneumonia

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลภายหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะมารดา โดยการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลบุตรวัยเตาะแตะโรคปอดอักเสบของมารดา ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาและเด็กป่วยโรคปอดอักเสบวัยเตาะแตะ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คู่ โดยจับคู่ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบของมารดา กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการสอนแนะ แผนการสอนแนะ คู่มือการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคปอดอักเสบสำหรับมารดา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลบุตรวัยเตาะแตะโรคปอดอักเสบของมารดาได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่า CVI เท่ากับ .88  และความเที่ยงโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .82  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า

พฤติกรรมการดูแลบุตรวัยเตาะแตะโรคปอดอักเสบของมารดาที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมการดูแลเด็กวัยเตาะแตะโรคปอดอักเสบของมารดาภายหลังที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะอยู่ในระดับมาก

 

Abstract

The quasi-experimental two-group posttest only research aimed to examine effect of the maternal coaching program on caring behaviors for toddler with pneumonia bycomparison mean scores of maternal caring behaviors for toddler with pneumonia between mothers receiving coaching program and those receiving routine nursing care. The participants were mothers and their toddler with pneumonia, assigned to the control and the experimental groups for, 20dyad for each group. Samples between groups were matched-pair by educational level and experience in caring for toddler with pneumonia. The experimental group received the coaching program and the control group received routine nursing care. Research instruments included the coaching program, the coaching teaching plan and handbook for mothers who care for children with pneumonia. Reswarch instrument for data collection was the maternal caring behaviors questionnaire. It was validated by five experts with CVI of  .88 The Cronbach’s alpha reliability was .82 Data were analyzed by using descriptive statistics and t-test. Results revealed that maternal caring behaviors for toddler with pneumonia of the experimental group who received coaching program were significantly higher than those of the control group who received routine nursing care at the level of .05. Moreover, maternal caring behaviors for toddler with pneumonia after received coaching program was at a high level.

 

Downloads