การดูแลตนเองของแรงงานเก็บขยะ Self-Care Ability Among Waste Picker

ผู้แต่ง

  • ดิษฐพล ใจซื่อ
  • เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร

คำสำคัญ:

การดูแลตนเอง แรงงานเก็บขยะ self-care, waste picker

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ   

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการระยะที่ 1  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลตนเองของแรงงานเก็บขยะในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน  พื้นที่ศึกษาเป็นชุมชนรอบบ่อฝังกลบขยะแห่งหนึ่งในเขต จังหวัดมหาสารคาม ผู้ร่วมดำเนินการวิจัยเป็นแรงงานเก็บขยะ 24 คนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 10 คน รวมจำนวน 34 คน  รวบรวมข้อมูลทั่วไปโดยใช้แบบสอบถาม  ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การเสวนากลุ่ม  การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม  การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้จำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

                ผลการศึกษา พบว่า ผู้ร่วมดำเนินการวิจัยมีอายุระหว่าง 18 -59  ปี อายุเฉลี่ย 37.6 ปี  ( S.D.= 12.3) ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 62.5   มีรายได้เฉลี่ย  8,208 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว  (S.D.=3064.2) รายได้ต่ำสุด 5,000 บาท รายได้สูงสุด 16,000 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว  ในด้านการดูแลตนเอง พบว่า  แรงงานเก็บขยะมีการดูแลตนเองไม่เหมาะสม  ดังนี้  1) การดูแลตนเองเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับทำงานเก็บขยะ ได้แก่ สวมใส่อุปกรณ์การแต่งกายที่นำมาจากกองขยะ  รับประทานอาหาร ผัก ผลไม้และนมจากกองขยะใช้มือที่ไม่สะอาดเกา  ขยี้ตา   และหยิบจับอาหารเข้าปากยืดเหยียดไม่ถูกวิธีและไม่สม่ำเสมอดื่มสุราเพื่อคลายเครียด  2) การดูแลตนเองเพื่อการป้องกันการเจ็บป่วยจากการทำงานเก็บขยะ  ได้แก่  ไม่สวมใส่เอี๊ยมพลาสติก  ไม่ใส่หน้ากากผ้าปิดปากปิดจมูกขณะทำงานเก็บขยะ  ท่าทางการทำงานไม่เหมาะสม  3) ด้านการดูแลตนเองเพื่อการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานเก็บขยะ  ได้แก่   สวมใส่ถุงมือผ้าไหมพรมซ้อนทับด้วยถุงมือยางสีขาวแบบบาง   ใส่รองเท้าบูทควบคู่กับใส่รองเท้าแตะ  และรีบเก็บขยะจนเกิดอุบัติเหตุ

                ผลการศึกษาครั้งนี้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนสามารถนำใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผนในการพัฒนาภาวะสุขภาพของแรงงานเก็บขยะได้  ซึ่งจะส่งผลให้แรงงานเก็บขยะมีภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

 

Abstract

                This research is part of  action research aimed to identify waste picker self-care situation . Setting for study was a community close to sanitary landfill in Mahasarakham  Province. Purposive sample was used to recruit 24 waste picker and 10 people who were responsible for waste picker’ care.   General information was gathered by questionnaire and qualitative data were collected via group dialogue, meetings, and participant observation. Descriptive statistics, namely frequency, percentage, mean, standard deviation, and range were used with quantitative data. Qualitative data was analyzed using content analysis.                The  results  showed waste pickers’ average age was 37.60 years (S.D.= 12.30, range  18 – 59).  and  62.5% were married.  Average income was 8,208 Baht per month ( S.D.= 3064.20, range 5000-16,000). Waste collectors’ self-care were initially poor on personal hygiene, food consuming behavior, exercise and they used alcohol to reduce  stress. They also had inappropriate work-related illness and accident strategies.

                Community nurse practitioners and health personnel can use these strategies to enhance waste picker’ self-care strategies for  preventing  illness and accidents related to their work.

Downloads