ผลของโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลต่อความวิตกกังวล ในสตรีตั้งครรภ์อายุมากที่ได้รับการเจาะนํ้าครํ่า Effects of an Information Support Program on Anxiety in Advanced Maternal-Age Women Receiving Amniocentesis

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ คล้ายทับทิม
  • ฉวีวรรณ อยู่สำราญ
  • นิตยา สินสุกใส

คำสำคัญ:

สตรีตั้งครรภ์อายุมาก การสนับสนุนด้านข้อมูล ความวิตกกังวล การเจาะนํ้าครํ่า advanced maternal age women, information support, anxiety, amniocentesis

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลต่อความวิตกกังวลในสตรีตั้งครรภ์อายุมากที่
ได้รับการเจาะนํ้าครํ่า กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์อายุเท่ากับ 35 ปี หรือมากกว่า ที่มารับบริการการตรวจวินิจฉัย
ก่อนคลอดโดยการเจาะนํ้าครํ่า ที่หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างเดือน
กันยายน - พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 จำนวน 60 ราย กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยแบ่งเป็น
2 กลุ่มๆ ละ 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลร่วมกับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุม
ได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินความวิตกกังวล
ขณะเผชิญของสปลิ เบอรเ์ กอรฉ์ บับภาษาไทย และเปรียบเทียบคา่ เฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลระหวา่ งกลุม่ ทดลองและกลุม่ควบคุมภายหลังการทดลองด้วยสถิติทดสอบค่าที (Independent t-test)
ผลการวิจัย พบวา่ สตรีตั้งครรภอ์ ายุมากในกลุม่ ทดลองมีคะแนนความวิตกกังวลนอ้ ยกวา่ กลุม่ ควบคุมอยา่ งมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p<.05) จากผลการศึกษา มีข้อเสนอแนะให้ใช้โปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูล เป็นแนวทางในการลดความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์อายุมากที่ได้รับการเจาะนํ้าครํ่า

Abstract
This quasi-experimental research aimed to study the effects of an information support program on anxiety in advanced maternal-age women receiving amniocentesis. The sample consisted of 60 pregnant women aged ≥ 35 years who received amniocentesis at the Maternal Fetal Medicine Unit of Bhumibol Adulyadej Hospital during September and November 2015. They were divided into two equal groups. The experimental group received an information support program with routine nursing care, while the control group underwent only routine nursing care. Data were collected by using the Personal Data Record and the State Anxiety Inventory by Spielberger, Thai version. The mean anxiety scores of the experimental group and the control group were compared by an independent t-test.
Results revealed that advanced maternal-age women in the experimental group had anxiety scores significantly lower than the control group (p<.05). The findings of this study suggested that an information support program could be used by health care providers to reduce anxiety among advanced maternal-age women undergoing amniocentesis.

Downloads