ผลของการจัดทำโปรแกรมการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือการประเมินภาวะสุขภาพครอบครัว มหาวิทยาลัยขอนแก่นต่อการรับรู้ของพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิ ในเขต Bantul เมือง Yogyakarta ประเทศอินโดนีเซีย The Effects of KKU Family Health Assessment Tool Training Program on Nu

ผู้แต่ง

  • Suwarno Suwarno
  • ดารุณี จงอุดมการณ์

คำสำคัญ:

การประเมินภาวะสุขภาพครอบครัว เครื่องมือประเมินภาวะสุขภาพครอบครัวมหาวิทยาลัยขอนแก่น โปรแกรม การฝึกอบรม การรับรู้ Family health assessment, KKU FHA Tool, training program, perception

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การประเมินภาวะสุขภาพครอบครัวเป็นกระบวนการสำคัญในการระบุปัญหาความต้องการด้านสุขภาพของครอบครัว
และประวัติสุขภาพของครอบครัว ทั้งนี้ พยาบาลมีหน้าที่ในการประเมินครอบครัวแบบองค์รวมและพยาบาลจะต้องพัฒนา
ความรู้และความสามารถ ดังนั้น โปรแกรมการเพิ่มความรู้และความสามารถของพยาบาลในการใช้เครื่องมือการประเมิน
ภาวะสุขภาพครอบครัวมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในด้านการใช้เครื่องมือดังกล่าว
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้คือเพื่อประเมินการรับรู้ของกลุ่มพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิในเขต Bantul เมือง
Yogyakarta ในด้านการใช้โปรแกรมการประเมินภาวะสุขภาพครอบครัวมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขั้นตอนการศึกษามีการใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองกับกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่มโดยทำการทดสอบก่อนและหลังการอบรม มีการสุ่มตัวอย่างตามความสมัครใจร่วมกับการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก มีพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยบริการปฐมภูมิ Bantul เมือง Yogyakartaเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 14 คน มีการใช้ชุดการฝึกอบรมและแบบสอบถามในการศึกษาครั้งนี้ มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวัดจากข้อมูลเชิงพรรณนาและการจับคู่ตัวอย่าง (Paired Sample t-test)
ผลการศึกษา พบว่า ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการจับคู่ตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า ค่า p ของก่อนเข้ารับการฝึกอบรม
และหลังเข้ารับการฝึกอบรมทันทีด้านความรู้คือ 0.000 และด้านประสบการณ์คือ 0.000 อย่างไรก็ตาม ค่า p หลังการฝึกอบรมในสองสัปดาห์ต่อมาไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือการประเมินภาวะสุขภาพครอบครัวมหาวิทยาลัยขอนแก่นในหน่วยบริการปฐมภูมิ Bantul ได้เพิ่มระดับการรับรู้ของพยาบาลในทั้งด้านความรู้และประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญ มีข้อเสนอว่าควรนำเครื่องมือประเมินภาวะสุขภาพครอบครัวมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาพัฒนาใช้ในพื้นที่เป้าหมายได้ในอนาคตและควรมีการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ Bantul ต่อไปโดยการจัดการอภิปรายแบบกลุ่มย่อย

Abstract
Background: Family Health Assessment (FHA) is a key process to identify the family health needs, problems,and history. It is indicated that nurses have duties to assess the family in a holistic way. Thus, the continuing nursing education nursing program on using the FHA Tool aimed to enhance the participant knowledge and skills in (FHA) based on such tool. Objective: The aim of this study was to compare the perceptions of nurses toward
the KKU FHA Tool before and after the training program in Primary Care Unit (PCU) of Bantul, Yogyakarta,Indonesia. Methods: The analytical study with one group pre-posttest design with the convenient sampling of 14 respondents who worked as a nurse at six PCUs of Bantul. The tools that were used in this study included a training module package and the questionnaire. The data were analyzed by descriptive statistics and paired t-test. Results: The training program had significant effects on nurses’ perceptions in term of knowledge (T= -7.242,p value .0.000 and experiences were T= -4.887, p value 0.000e comparing analysis of paired sample t-test revealed, that the p value of among the pre-test, the intermediate post-test for. However, the p value of the intermediate post-test and post-test in later two weeks were not significant. KKU FHA Tool training program in PCU Bantul Yogyakarta was enhanced the participant nurses’ perception in knowledge and experiences significantly.Conclusion: In conclusion, KKU FHA Tool were suitable in PCU Nurses who work in PCU Bantul,Yogyakarta and we are recommending KKU FHA Tool forms have to develop and implement with qualitativedata’s as complementary data in PCU Bantul Yogyakarta by Focus Group Discussion.

Downloads