ประสบการณ์การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในผู้ป่วยจิตเวช Experience in nursing care of transcultural psychiatric patients
คำสำคัญ:
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม ผู้ป่วยโรคจิตเวช transcultural nursing, psychiatric patientsบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประสบการณ์การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในผู้ป่วยจิตเวชที่ผ่านมาโดยรวบรวม
จากแฟ้มเวชระเบียนของผู้ป่วยชาวต่างชาติที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ปี พ.ศ. 2555-2557 และจากประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยที่มาจากต่างประเทศย้อนหลัง 3 ปี จำนวน 27 คน มาจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) 21 คน จากยุโรป 6 คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 41–50 ปี ไม่มีอาชีพเป็นผู้ว่างงาน หรือ เกษียณอายุ การศึกษาตํ่ากว่าปริญญาตรี นับถือศาสนาพุทธ 21 คน เข้ารักษาในโรงพยาบาล 1 ครั้ง 18 คนส่วนใหญ่มารักษาในเวลาสั้นๆ จึงมีจำนวนวันนอนรักษาเพียง 1 –5 วัน การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามกระบวนการพยาบาลต้องอาศัยความรู้ในการประเมินวัฒนธรรมที่ต่างกัน โดยมีความไวในการประเมินและการสื่อสาร การแปลผลการประเมินการตอบสนองต่อการดูแลจากครอบครัวที่ต่างกัน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมส่วนใหญ่จากที่เขาต้องเปลี่ยนจากสังคมเดิมมาอยู่ในสังคมแบบใหม่ สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มาจาก สปป.ลาวไม่มีปัญหาการสื่อสารมีเพียงความแตกต่างทางคุณค่าและวัฒนธรรมความเชื่อ การดูแลชาวต่างชาติต้องระมัดระวังในการสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด การทำความเข้าใจรูปแบบการดำเนินชีวิต เนื้อหารายละเอียดที่ให้คุณค่าต่างกัน ใช้การรับฟัง การทำความกระจ่างมากขึ้น การพยาบาลที่ให้ในแต่ละคนนอกเหนือจากดูแลใหย้ าแลว้ มีการจัดการอาหาร สิ่งแวดลอ้ ม ความรูใ้ นการดูแลตนเองกิจกรรมกลุ่มบำบัดและการให้คำปรึกษา กระบวนการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดไม่แตกต่างจากผู้ป่วยไทย
Abstract
This article aimed to describe transcultural nursing experience for 27 foreign psychiatric patients hospitalized at Khon Kaen Rajnakarind Psychiatric Hospital during 2012-2014. Twenty one patients were from Laos PDR and six patients were from Europe. Most of them were male, age 41-50 years, unemployed or retired, and possessed lower than baccalaureate degree education. Twenty one patients were Buddhist and eighteen patients had been hospitalized only once. Most patients stay in the hospital for only 1-5 days just to reduce the admitting symptoms. The nursing process used for transcultural nursing required the knowledge in cross-cultural assessment. In order to assist patients’ adjustment to new environment, the nurses must be sensitive in evaluating patients’ communication abilities, recognizing rules and restriction related to their culture and religion, and interpreting their
responses to care. For Laotian patients, communication was not a barrier to care. Only their values and beliefs were different from those of the nurses’. On the other hand, nurses must be careful when caring for European patients because of language barrier. As a result, caring for European patients nurses must consider the way to communicate with patients and their families, how to develop therapeutic relationship, gain the understanding of patients’ ways of life, and be aware of diverse values and beliefs. In addition, careful listening and larifying will enhance nurses’ understanding of patients’ needs. Otherwise, caring for foreign patients was similar to what was normally provided to Thai patients which include giving prescribed medication, managing patients’ nutrition and environment, teaching self-care knowledge, organizing group therapy, giving counseling and developing therapeutic relationship.