การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด Development of the Nursing Model for Pregnant Women to Prevent Preterm Labour
คำสำคัญ:
หญิงตั้งครรภ์ การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, การคลอดก่อนกำหนด pregnant women, preterm labor, preterm birthบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกัน
การคลอดก่อนกำหนด และศึกษาผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อน
กำหนด ทำการศึกษาที่คลินิกฝากครรภ์ และห้องคลอด โรงพยาบาลนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่
มีภาวะเสี่ยงที่เข้ารับการฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์ จำนวน 120 คน หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยจากสูติแพทย์
ว่ามีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาที่ห้องคลอด จำนวน 120 คน และบุคลากรพยาบาล จำนวน
18 คนดำเนินการระหว่างเดือน ตุลาคม 2557 ถึง กันยายน 2558 ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 วิเคราะห์
สถานการณ์เกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ระยะที่
2 พัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ระยะที่ 3 ประเมินผล โดยประเมิน
ผลลัพธ์จากการนำรูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดย
การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติทดสอบไคสแควร์ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์การจัดกลุ่มเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดที่พัฒนาขึ้น
ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบดังนี้ 1) การคัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ 2) การ
ประสานส่งต่อสูติแพทย์ 3) การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดจาก
หลักฐานเชิงประจักษ์ 4) การวางแผนการจำหน่ายโดยใช้ M-E-T-H-O-D 5) การติดตามการดูแลต่อเนื่องที่บ้านโดย
ทางโทรศัพท์ 6) การให้ความรู้โดยให้สามีและญาติมีส่วนร่วม หลังการนำรูปแบบไปใช้ได้มีการประเมินผลลัพธ์โดย
การเปรียบเทียบการเกิดอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนด ของหญิงตั้งครรภท์ ี่มีภาวะเสี่ยงระหวา่ งกลุม่ ที่ไดรั้บการ
พยาบาลตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามรูปแบบเดิม พบว่า อุบัติการณ์การเกิดภาวะเจ็บ
ครรภ์คลอดก่อนกำหนดในกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตาม
รูปแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 7.26, p = .003) สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บ
ครรภ์คลอดก่อนกำหนด ได้เปรียบเทียบการยืดระยะเวลาการตั้งครรภ์มากกว่า 48 ชั่วโมง และการยืดระยะเวลา
การตั้งครรภ์จนครบกำหนดคลอด ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นและกลุ่มที่ได้รับการ
พยาบาลตามรูปแบบเดิม พบวา่ กลุม่ ที่ไดรั้บการพยาบาลตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถยืดระยะเวลาการตั้งครรภ์
มากกว่า 48 ชั่วโมง และยืดระยะเวลาการตั้งครรภ์จนครบกำหนดมากกว่ากลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลตาม
รูปแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 4.910, p = 0.027) และ (X2 = 5.637, p = .018) ตามลำดับ สำหรับการเปรียบเทียบการกลับมารักษาซํ้า พบว่า ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (X2 = 1.426, p = .232)
The objective of this study were to develop and investigate the developed nursing model on
pregnant women to prevent preterm labour at antenatal care clinic (ANC), labour room, Nakhonphanom Hospital. The subject were 120 patients who visited in ANC, 120 patients who admitted in labor room and 19 nurses. The development process had been performed form October 2014 to September 2015,It had been included three steps. 1) situation analysis to identify problem; 2) developing the nursing model for pregnant women; and 3) evaluation. The data were analyzed by 1) descriptive statistic (frequency, percentage); 2) inferential statistic (chi-square) and 3) qualitative data (content analysis). The results of the study showed that the nursing model composed of 6 elements; 1) screening of risk factor associated to preterm labor in pregnant women 2) coordinating with obstetrician 3) using clinical nursing guideline for pregnant women with preterm labour 4) using D-method discharge planning 5) continuing care and telephone visit 6) education for pregnant women and family. After using the nursing model, the rate of preterm labour in the risk pregnant women those receiving care of the developed nursing model were significantly less than those were cared by using the conventional nursing (X2 = 7.26, p = .003). The rate of prolong gestational age over 48 hours and over 37 weeks in the pregnant women with preterm labor those receiving care of the developed nursing model were significantly higher than those were cared by using the conventional nursing (X2 = 4.910,p = 0.027 and X2 = 5.637, p = .018). There were no significantly different on readmission rate in both groups (X2 = 1.426, p = .232).