การพัฒนานักศึกษาโดยการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน รายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม The Development of Organizing Research-Based Learning in the Health Promotion Course, Srimahasarakham Nursing College
คำสำคัญ:
การพัฒนานักศึกษา การสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม development of students, research-based learning, health promotion course, Srimahasarakham Nursing Collegeบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานักศึกษาโดยการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม ประชากรในการศึกษา คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 30 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 180 คน และอาจารย์ผู้สอน จำนวน2 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนมกราคม 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการสอนแบบใชวิ้จัยเปน็ ฐาน แนวคำถามการสนทนากลุม่ แบบประเมินทักษะการใชผ้ ลการวิจัย แบบทดสอบ และแบบถอดบทเรียนหลังทำกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีผลการสอบผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 60 ขึ้นไป) จำนวน 152 คน คิดเป็นร้อยละ 84.4นักศึกษาทุกคนมีทักษะการใช้ผลการวิจัยผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 80 ขึ้นไป) คิดเป็นร้อยละ 100 และนักศึกษาได้เรียนรู้งานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของบุคคลวัยผู้ใหญ่แบบองค์รวม เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส กระบวนการเสริมพลังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้เรียนรู้กระบวนการวิจัย การวิเคราะห์บทความวิจัย ทำให้สามารถนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการพยาบาลได้จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การพัฒนานักศึกษาด้วยการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานทำให้เกิดผลลัพธ์แก่ผู้เรียนในด้านความรู้การสร้างเสริมสุขภาพ และทักษะการใช้ผลการวิจัย
The classroom action research aimed to develop knowledge of adult health promotion and research utilization skills based on organizing research-based learning in the Health promotion course in Srimahasarakham Nursing College. The population comprised 180 students in the 30th class, the second semester of the academic year 2013 from October 2013 to January 2014, and 2 instructors. The instruments used in the research consisted of RBL handbook, a focus group, an evaluation form for research utilization, a test, and after action review (AAR). The analysis employed percentage, mean, and content analysis. The results are concluded as follows:The students’ learning achievements of organizing research-based learning revealed: 1) 152 students or (84.4%) had their scores pass the criterion (60% and above); 2) 180 students or (100%) had their 5 domains of research utilization skills scores pass the criterion (80% and above); and 3) it was learning about research relating to holistic health promotion and prevention of diseases of adults emphasizing behavioral adjustment of individuals such as health behavior changing program and the
process of empowerment on health behavior changes; the students learned the research process, and analysis of research articles and therefore they were able to apply the knowledge in nursing.The results revealed that the development of organizing research-based learning in the health promotion course enhanced knowledge and research utilization skills.