ปัจจัยทำนายด้านเด็กและผู้ดูแลในการทำนายการควบคุมโรคหืดในเด็กวัยเรียน Children and Caregiver Factors Predicting Asthma Control of School Aged Children

ผู้แต่ง

  • เฌอร์นินทร์ ตั้งปฐมวงศ์
  • อาภาวรรณ หนูคง
  • วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์

คำสำคัญ:

เด็กวัยเรียนโรคหืด ผู้ดูแลเด็ก การควบคุมโรคหืด asthma control, school aged children with asthma, care giver

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาการทำนายของการประเมินอาการและการ
จัดการกับอาการหอบของผู้ดูแล การจัดการปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการหอบของผู้ดูแล ความสมํ่าเสมอของการใช้
ยาของเด็ก และเทคนิคการพ่นยาของเด็ก ต่อการควบคุมโรคหืดของเด็กวัยเรียน โดยใช้กรอบแนวคิดของทฤษฏี
Pediatric Self-management กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนโรคหืดและผู้ดูแล 120 คู่ จากแผนกผู้ป่วยนอกของ
โรงพยาบาลในจังหวัดมหาสารคาม 4 แห่ง การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล
ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามการประเมินอาการและการจัดการกับอาการหอบของผู้ดูแล
3) แบบสอบถามการจัดการปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการหอบของผู้ดูแล 4) แบบสัมภาษณ์ความสมํ่าเสมอของ
การใช้ยาของเด็ก 5) แบบสังเกตเทคนิคการพ่นยาของเด็ก และ 6) แบบประเมินระดับการควบคุมโรคหืด โดย
วิเคราะห์ความสามารถในการทำนายการควบคุมโรคด้วยสถิติโลจิสติก กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายการควบคุมโรคหืดของเด็กวัยเรียน คือ 1) การประเมินอาการ
และการจัดการกับอาการหอบของผู้ดูแล โดยเมื่อคะแนนของการประเมินอาการและการจัดการกับอาการหอบของ
ผู้ดูแล เพิ่มขึ้น 1 หน่วยคะแนน จะมีโอกาสที่เด็กวัยเรียนโรคหืดจะควบคุมโรคในระดับควบคุมโรคได้บางส่วน
เพิ่มขึ้น 1.133 เท่า (95% CI: 1 – 1.284) และมีโอกาสจะควบคุมโรคในระดับควบคุมโรคได้ เพิ่มขึ้น 1.289 เท่า
(95% CI: 1.131 – 1.470) เมื่อเปรียบเทียบกับระดับควบคุมโรคไม่ได้ และ 2) เทคนิคการพ่นยาของเด็กโดยเมื่อ
คะแนนของเทคนิคการพ่นยาของเด็กวัยเรียนโรคหืดเพิ่มขึ้น 1 หน่วยคะแนน จะมีโอกาสที่เด็กวัยเรียนโรคหืดจะ
ควบคุมโรคในระดับควบคุมโรคได้บางส่วน เพิ่มขึ้น 1.794 เท่า (95% CI: 1.142 – 2.817) และมีโอกาสที่จะควบคุมโรคในระดับควบคุมโรคได้ 2.111 เท่า (95% CI: 1.323 – 3.367) เมื่อเปรียบเทียบกับระดับควบคุมโรคไม่ได้ การวิจัยในครั้งนี้มีขอ้ เสนอแนะคือ บุคลากรทีมสุขภาพควรจัดโปรแกรมเพื่อสง่ เสริมใหผู้ดู้แลมีทักษะการประเมินอาการและการจัดการกับอาการหอบในข้อที่ยังปฏิบัติไม่เหมาะสม และส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนโรคหืดพ่นยาได้อย่างถูกต้องในขอ้ ที่ยังปฏิบัติไมถู่กตอ้ ง และอาจใชแ้ บบสอบถามการประเมินอาการและการจัดการกับอาการหอบของผูดู้แล และแบบสังเกตเทคนิคการพน่ ยาของเด็กมาเปน็ แนวทางในการตรวจสอบทักษะของผูดู้แลและเด็กวัยเรียนโรคหืดที่มา
ตรวจตามนัดหรือผู้ป่วยรายใหม่

This correlational predictive research aimed to examine factors predicting asthma control, which were assessment and management of asthma symptoms of caregivers, asthma trigger management of caregivers, medication adherence, and children’s techniques for using asthma control inhaler. The Pediatric Self-Management Theory of Modi and colleagues was employed as the conceptual framework. The sample group composed of school aged children with asthma and their caregivers for a total of 120 pairs from outpatient department of 4 hospital in Mahasarakham province.The sample group was selected by convenience sampling. The instrumentations composed of 1) emographicata Questionnaire; 2) Assessment and Management of Asthma Symptoms for Caregivers Questionnaire;
3) Asthma Trigger Management of Caregivers Questionnaire; 4) Medication Adherence Report Scale for Asthma Questionnaire; 5) Inhaler Device Assessment Tool, and 6) Asthma Control Scale. Data were analysis by using logistic regression analysis in which statistical significance was set at .05. The research findings revealed predictive factors of asthma control inschool aged children with asthma were assessment and management of asthma symptoms of caregivers (OR,1.289;95% CI: 1.131 – 1.470) and children’s techniques for using asthma control inhaler(OR,2.111; 95% CI: 1.323 – 3.367) Therefore, health care providers should organize the programs to promote assessment and management
of asthma symptoms for caregivers and promote techniques for using of asthma control inhaler for children in order to achieve the ultimate goal of asthma control.

Downloads