ผลของการออกกำลังกายโดยการใช้ไม้ (บุญมี เครือรัตน์) ต่อระดับ ความดันโลหิตในผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • อุไร เจนวิทยา

คำสำคัญ:

การออกกำลังกายโดยการใช้ไม้ ระดับความดันโลหิต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผล ของการออกกำลังกายโดยใช้ไม้ (บุญมี เครือรัตน์) ต่อระดับความดันโลหิตของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความ ดันโลหิตสูง ระหว่างกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายโดยการใช้ไม้กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วม กิจกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง 31 กรกฎาคม 2551 กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ที่มี ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ t-test

ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้

1. ระดับความดันโลหิตของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง พบว่า ภายหลังการ ทดลอง ระดับความดันโลหิต Systolic และ Diastolic ของกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนกลุ่มควบคุม พบว่า ระดับความดันโลหิต Systolic และ Diastolic ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน

2. ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ก่อนการ ทดลองค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิต Systolic ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนค่าเฉลี่ยของระดับความดัน โลหิต Diastolic พบว่า ไม่แตกต่างกัน ภายหลังการทดลองกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิต Diastolic และ Systolic สูงกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

การศึกษาครั้งต่อไป ควรศึกษาหรือควบคุมปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อระดับความดันโลหิต นอกเหนือจากความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง เพื่อเพิ่มอำนาจในการอธิบายประสิทธิผลของกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกายโดยการใช้ไม้ต่อระดับความดันโลหิตให้สูงขึ้น

This was a quasi-experimental research to study the effect of rod-assisted exercise (well-known as PaBunmi Kruearat style of exercise) on the blood pressure fluctuation of the hypertensive-prone persons. The trialgroup was those who had exercise; while the control group was those without such exercise. All of them were thehospital employees prone to have hypertension, eighty in number. The study was performed during January 1stand July 31st, 2008. The statistics was descriptive and analytical t-test. The results were as follows:1. The trial group had lowering of the average diastolic and systolic blood pressures with the significantdifference (at the level of 0.05) against the control group which had no change in blood pressure, both diastolicand systolic.2. Before the exercise, the average systolic blood pressure of the trial group was higher than that ofthe control group, while the average diastolic blood pressure was not different in both groups. After the exercise,both diastolic and systolic blood pressures of the trial group were significantly higher in the control group (at thelevel of 0.05).In the following investigation, it was suggested to study the possibly confounding factors, especiallythe education and life-style of both groups, to explain more about the effect of rod-assisted on the hypertensivepronepersons.

Downloads