ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่ออาการหายใจลำบากและความสามารถ ในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง

ผู้แต่ง

  • ธนากรณ์ แก้วยก
  • อภิญญา วงศ์พิริยโยธา
  • วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเอง อาการหายใจลำบาก ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง

บทคัดย่อ

ภาวะหัวใจล้มเหลวเลือดคั่งเป็นความเจ็บป่วยเรื้อรัง ที่เกิดจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ได้เพียงพอ อาการหายใจลำบากเป็นอาการที่พบบ่อยของภาวะหัวใจล้มเหลวเลือดคั่งที่มีผลกระทบต่อความสามารถ ในการทำหน้าที่ของร่างกายและการทำกิจกรรมประจำวันของผู้ป่วย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบสุ่มสอง กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่ออาการหายใจลำบาก และความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง โดยใช้แนวคิดการจัดการตนเองที่ พัฒนาโดย Creer เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเลือดคั่งที่มารับบริการที่ โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลภายใน 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบวัดอาการหายใจลำบากของบอร์ก (Borg scale) และแบบประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย (The Veterans Specific Activity Questionnaire) ค่าความ เชื่อมั่นโดยวิธีหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันแบบวัดอาการหายใจลำบาก เท่ากับ .80 และแบบประเมินความ สามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายเท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ paired t-test และ t-test

ผลการวิจัยผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเลือดคั่งที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองมีคะแนนเฉลี่ยอาการหายใจ ลำบากตํ่ากว่าก่อนได้รับโปรแกรมและตํ่ากว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลาตามปกติ (p<.05) และคะแนนเฉลี่ยความ สามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (p<.05) โดยสรุป พบว่า โปรแกรมการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง สามารถทำให้อาการหายใจลำบาก ในผู้ป่วยล้มเหลวเลือดคั่งลดลง ส่งผลให้ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายสูงขึ้น

Congestive heart failure (CHF) is a chronic illness in which the heart cannot pump enough blood tomeet the demand of the body. Dyspnea is a common symptom of CHF that impacts on functional capacity anddaily activity of the patients. The research design was a pretest-posttest experimental design aimed to examinethe effects of self-management program on symptom of dyspnea and functional capacity of persons with CHF.The concept of Creer’s self-management was used to guide the study. Thirty persons with CHF who were treatedat Amnartcharean Hospital and met the inclusion criteria were randomly assigned into the experimental and thecontrol groups. Each group contained 15 participants. The experimental group received the self-managementprogram and the control group received usual care. Data were collected with 6 weeks. Two instruments werethe Borg scale for evaluating dyspnea and the Veterans Specific Activity Questionnaire (VSAQ) for evaluatingfunctional capacity. Pearson’s product moment correlation coefficient for the Borg scale was .80 and for theVSAQ was .86.The results of study revealed that: The experimental group had significantly lower mean scores of dyspneathan before receiving the self-management program and lower than that the control group (p < .05), and hadsignificantly higher mean scores of functional capacity than before receiving the self-management program andhigher than that the control group (p < .05). In conclusion, the self – management program for persons withCFH could help the patients decrease dyspnea and increase functional capacity.

Downloads

Additional Files