การพัฒนาบริการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • จินตนา บุญจันทร์
  • พรเพ็ญ ปทุมวิวัฒนา
  • พวงรัตน์ เชาวะเจริญ
  • กุสุมา ชูศิลป์

คำสำคัญ:

promoting of sustainable breastfeeding, service development, action research

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ เพื่อพัฒนาบริการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมาย คือมารดาที่เป็นบุคลากรปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2549-2552 แบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการสำรวจทัศนคติและอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน ระยะที่ 2 พัฒนาบริการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเตรียมความพร้อมบุคลากรพัฒนาสื่อการสอน พัฒนาการดูแลระยะก่อนคลอด ระยะคลอด ระยะหลังคลอด และระยะที่ 3 สรุปประเมินผลผลการวิจัย ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการณ์ พบว่า มารดาที่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน พบร้อยละ 27 และผลการสำรวจทัศนคติ ส่วนใหญ่มีทัศนคติทางลบ ระยะที่ 2 การพัฒนาบริการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโรงพยาบาล ประกอบด้วย การพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากร การเตรียมความพร้อมของบิดามารดาก่อนคลอดการจัดทำสื่อและสอนการดูแลในระยะคลอด หลังคลอด และในหน่วยดูแลทารกแรกเกิด พบว่า บริการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีดังนี้ คือ บริการการติดตามดูแลช่วยเหลือหลังคลอด 6 เดือน การนัดมาตรวจที่คลินิก ให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง มีบริการสายด่วน Hot Line บริการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเสริมพลังอำนาจ การสร้างเครือข่ายแม่อาสา และขยายเครือข่ายผู้สนใจร่วมกัน ระยะที่ 3 การประเมินผลลัพธ์ พบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ครบ 6 เดือน ในปี 2550 ปี 2551 และในปี 2552 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37 เป็นร้อยละ 42 และร้อยละ 46.6 ตามลำดับ ซึ่งสามารถบรรลุตามเป้าหมายของประเทศไทยได้

This action research aimed to develop services for promoting sustainable breastfeeding in mothers whoworked for Khon Kaen University. The duration of research implementation was from 2008-2010. Therewere divided into 3 phases: Phase I, situational analysis of breastfeeding practices by exploring the attitudesand percentages of breastfeeding practices for at least 6 months of mothers in the study; Phase II, developmentof services for promoting breastfeeding of mothers by staffs preparedness, educational media development anddevelopment of care services in the units of before delivery, during delivery and after postpartum periods; andPhase III, evaluation phase.Results: Phase I, the percentage of breastfeeding practices for at least 6 months of mothers in this studywas 27% and most of the mothers had negative attitudes toward breastfeeding; Phase II, development of servicescomprised of the development of knowledge and skills of staffs, the preparation of fathers and mothers beforedelivery periods, the development of educational medias for teaching during delivery and after delivery periods,as well as in new born units. Services provided included follow up services for 6 months after birth, 24 hot-lineconsultation services, knowledge sharing among mothers, promotion of empowerment, breastfeeding ambassadorsand networking; Phase III, evaluation phases reported the increasing breastfeeding rates from 2007, 2008 and2009 of 37%, to 42% and 46.55%, respectively. The Thailand breastfeeding goals were met.

Downloads

How to Cite

1.
บุญจันทร์ จ, ปทุมวิวัฒนา พ, เชาวะเจริญ พ, ชูศิลป์ ก. การพัฒนาบริการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างยั่งยืน. J Nurs Healthc [อินเทอร์เน็ต]. 9 กุมภาพันธ์ 2013 [อ้างถึง 22 มกราคม 2025];29(2):14-2. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/5785