การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน The Development of Transcultural Nurses’ Competency Assessment Scale of Profesional Nurses in Private Hospital

ผู้แต่ง

  • ปานจันทร์ ชูทิพย์ ปานจันทร์ ชูทิพย์
  • ยุพิน อังสุโรจน์

คำสำคัญ:

แบบประเมินสมรรถนะ การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมโรงพยาบาลเอกชน competency assessment scale, transcultural nursing, private hospital

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาล
วิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาสร้างแบบ
ประเมินสมรรถนะ ในประกอบด้วย 1) กำหนดคำนิยามเชิงปฏิบัติการ จากการทบทวนวรรณกรรมและสัมภาษณ์
ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน 2) สร้างข้อคำถาม ได้คำถามจำนวน 69 ข้อ 3) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยกลุ่ม
ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรง เท่ากับ .974) หาค่าความเที่ยงโดยการนำไปทดลองใช้กับกลุ่ม
พยาบาล จำนวน 30 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .97 และ 5) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง
โดยใชเ้ ทคนิคการวิเคราะหต์ ัวประกอบกับกลุม่ ตัวอยา่ งพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 250 คน และขั้นตอนที่ 2 การตรวจ
สอบคุณภาพของแบบประเมินโดยการหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินสมรรถนะการตรวจสอบความตรงตาม
สภาพของแบบประเมินโดยวิธี Known-groups technique และตรวจสอบความสอดคล้องของการประเมิน 2 กลุ่ม
ด้วยวิธี Interrater Reliability ด้วยสถิติ Intraclass Correlation Coefficient (ICC) ได้เท่ากับ .84
หลังจากการวิเคราะหต์ ัวประกอบกับกลุม่ ตัวอยา่ ง ผลการวิจัยพบวา่ แบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลขา้ ม
วัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน ได้สมรรถนะหลัก จำนวน 9 ด้าน รวม 69 ข้อรายการ ประกอบ
ด้วย ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านการสร้างเครือข่ายด้านภาวะผู้นำ ด้านความตระหนักรู้ทาง
วัฒนธรรม ด้านการบริการการพยาบาล ด้านการสร้างสัมพันธภาพ ด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร ด้านการ
สื่อสาร และด้านการบริหารความเสี่ยง อธิบายความแปรปรวนรวมได้ร้อยละ 71.7 และจากการตรวจสอบคุณภาพ
ของแบบประเมิน โดยการหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินสมรรถนะ ได้ค่าอัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .98 ตรวจ
สอบความตรงตามสภาพ ดว้ ยวิธี Known-Groups Technique ดว้ ยการหาคา่ t-test พบวา่ กลุม่ พยาบาลที่มีสมรรถนะ
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมสูงมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มที่มีคะแนนตํ่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ( = 4.30 ±
0.15, = 3.83 ± 0.55, t = 4.74) และค่าความสอดคล้องของการประเมิน Intraclass Correlation Coefficient (ICC)
ที่ประเมินโดยผู้จัดการแผนกและเพื่อนร่วมงานเท่ากับ .84 สรุปได้ว่าแบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลข้าม
วัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นเครื่องมือที่ดี มีหลักฐานของความตรงและความเที่ยง และสามารถวัดสมรรถนะการ
พยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพได้เหมาะสม ตรงตามความเป็นจริง

Downloads