การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยใส่สายสวน ปัสสาวะและการดูแลต่อเนื่องในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ Clinical Nursing Practice Guideline Development for Patients receiving Retained Foley’s Catheter and Home Care in Chaiyaphum

ผู้แต่ง

  • ประภารัตน์ ประยูรพรหม
  • กาญจนา ชวนไชยสิทธิ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก การดูแลต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค ์ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผูป้ ว่ ยใสส่ ายสวน
ปัสสาวะ ประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติของพยาบาล ญาติ และ ผู้ดูแลต่อเนื่อง และอุบัติการณ์การติดเชื้อในระบบทาง
เดินปัสสาวะ ผู้ร่วมศึกษาในระยะประเมินผล คือ 1) หัวหน้าหอผู้ป่วยผู้ประเมิน 17 คน 2) พยาบาล
ผู้ปฏิบัติจำนวน 220 คน 3) ผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะจำนวน 287 คน 4) ผู้ดูแลต่อเนื่อง จำนวน 20 คน
ระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2556- กันยายน พ.ศ. 2558 ทำการศึกษาใน หอผู้ป่วย โรงพยาบาลชัยภูมิ ที่มีผู้ป่วยได้
รับการใส่คาสายสวนปัสสาวะ จำนวน 17 หอผู้ป่วย ดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ
Kemmis & McTaggart 3 วงรอบๆ ละ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผนเพื่อไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น 2) ลงมือ
ปฏิบัติการตามแผน 3) สังเกตการณ์ และ 4) สะท้อนกลับ ปรับปรุงกระบวนการและผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
และแผนการปฏิบัติงาน ดำเนินการเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ เป็นวงรอบ ทบทวนผลการดำเนินงานตามหลักระบาดวิทยา
เกี่ยวกับการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะ (Catheter – associated urinary tractinfection) ที่มีองค์ประกอบของปัจจัยเสี่ยงประกอบด้วยผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม และเชื้อก่อโรค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกฯ แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกฯ แบบฟอร์มการเฝ้าระวังและรายงานการติดเชื้อ
ในโรงพยาบาล ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
เท่ากับ 0.86 , 0.89 , 0.81 และ 0.91 และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และคำนวณอุบัติการณ์การติดเชื้อเป็นจำนวนครั้งต่อจำนวนวันที่ผู้ป่วยได้รับการคาสายสวนปัสสาวะคูณด้วย 1,000

Downloads