การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลยโสธร The Development of Health Care System with Heart Failure Patients in Yasothon Hospital

ผู้แต่ง

  • ประชุมสุข โคตรพันธ์
  • อังศุมาลิน โคตรสมบัติ
  • สุพัตรา บัวที

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว development of health care system, heart failure patients

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เปน็ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีสว่ นรว่ ม มีวัตถุประสงคเ์ พื่อพัฒนาระบบการดูแลผูป้ ว่ ยภาวะ
หัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลยโสธร ซึ่งผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ ทีมสหสาขาวิชาชีพคัดเลือกแบบ
เฉพาะเจาะจง จำนวนทั้งหมด 58 คน กลุ่มที่ 2 คือ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวคัดเลือกตามเกณฑ์การจำแนกระดับ
ความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลวสมาคมโรคหัวใจนิวยอร์ก ระดับ 2 และ 3 และรับการรักษาที่โรงพยาบาลยโสธร
จำนวน 179 คน โดยการสุ่มแบบง่ายชนิดไม่ใส่คืน ใช้ผู้ป่วยกลุ่มเดียว ดำเนินการวิจัยเริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม 2558
- กุมภาพันธ์ 2559 กรอบแนวคิดงานวิจัยคือวงจรเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม P-A-O-R ( Planning - Acting -
Observing - Reflecting ) ร่วมกับกรอบ แนวคิดทฤษฎีการดูแลโรคเรื้อรัง ของ Dr. Edward H. Wager เครื่องมือ
ที่ใช้มี 3 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวและทีมสหสาขาวิชาชีพ คือ 1.1) ข้อมูลทั่วไป
1.2) สอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย 1.3) แบบประเมินการจัดการตนเองของผู้ป่วย 1.4 ) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับ
การจัดการตนเองของผูป้ ว่ ย 1.5) แบบสอบถามความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพ 2) สมุดคูมื่อของผูป้ ว่ ยบันทึก
นํ้าหนัก ระยะทางการเดินบนพื้นราบนาน 6 นาที การกลับเข้ามานอนรักษาซํ้าที่โรงพยาบาลยโสธร และระยะเวลา
ในการส่งต่อผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ
ทดสอบ คือ pair t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่แอลฟา P< 0.05 และ 3) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ
คือ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบโรงพยาบาลยโสธร มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โดยแผนกผู้ป่วย
นอกโรงพยาบาลยโสธรเปิดให้บริการคลินิกเฉพาะการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ใช้ทีมสหสาขาวิชาชีพจัดระบบ
ให้การดูแล คัดกรอง ส่งต่อ ผู้ป่วยระหว่างหน่วยงานผู้ป่วยใน/นอก อุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลยโสธร มี
พยาบาลในทีมสหสาขาวิชาชีพใหค้ วามรูแ้ กผู่ป้ ว่ ยภาวะหัวใจลม้ เหลวเกี่ยวกับการจัดการตนเองอยา่ งเปน็ ระบบทุก
หน่วยงานดังกล่าว ผลการวิจัยหลังการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวพบค่าเฉลี่ยคะแนนความ
สามารถในการจัดการตนเอง และความรู้ของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีค่ามากกว่าก่อนการพัฒนาระบบการดูแล
ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.00 คือ 48.272 (SD = 4.730), 27.016 (SD = 3.986)
และ 13.255 (SD = 1.251, 5.75 (SD = 1.893) คะแนน ตามลำดับ ส่งผลให้พบจำนวนผู้ป่วยสามารถควบคุม
นํ้าหนักตัวได้เพิ่มขึ้น จำนวนผู้ป่วยกลับเข้ามารักษาซํ้าในโรงพยาบาลยโสธรลดลง ผู้ป่วยมีความทนต่อการออก
กำลังกาย พบค่าเฉลี่ยระยะทางเดินบนพื้นราบนาน 6 นาทีเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีคุณภาพชีวิต
ที่ดี พร้อมกับพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพสามารถลดระยะเวลาในการส่งต่อคือ 1.22 (SD = 1.078),
และ 4.56 (SD = 1.346) ชั่วโมง ตามลำดับ หลังจากผู้ป่วยมีสุขภาพคงที่ทำการส่งต่อไปรับการรักษาพยาบาลที่
โรงพยาบาลชุมชนใกล้บ้านพร้อมกับการให้ข้อมูลผู้ป่วยทางอิเลคทรอนิค Data Center ของจังหวัดยโสธร และฝึก
อบรมให้ทีมสหสาขาวิชาชีพมีความรู้และประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ผลวิจัยพบค่าคะแนน
เฉลี่ยความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพมีค่าเพิ่มขึ้น จากก่อนดำเนินการ คือ 34.069 (SD = 2.397), 18.569
(SD = 4.417) คะแนน ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.000

Downloads