คุณภาพการจัดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ในหอผู้ป่วยหนัก Palliative Care Management Quality in End of Life Patients in Intensive Care Unit

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ ลิ้มเจริญ
  • วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์
  • วารินทร์ บินโฮเซ็น

คำสำคัญ:

คุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย palliative care management quality, end of life patients

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพด้านกระบวนการและคุณภาพ
ดา้ นผลลัพธก์ ารจัดการดูแลผูป้ ว่ ยระยะสุดทา้ ยแบบประคับประคอง ในหอผูป้ ว่ ยหนัก โรงพยาบาลสิงหบ์ ุรี กลุม่ ตัวอยา่ ง
เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยหนัก จำนวน 30 คน และเวชระเบียนของผู้ป่วยระยะสุดท้ายหอ
ผู้ป่วยหนัก จำนวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการ
ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของพยาบาล 2) แบบบันทึกการดูแลที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบประคับประคองจาก
พยาบาล 3) แบบบันทึกข้อมูลการได้รับการจัดการความปวด และ 4) แบบบันทึกข้อมูลการป้องกันการเกิดแผลกด
ทับและการดูแล เครื่องมือวิจัยทุกชุดได้ผ่านการพิจารณา ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและมีค่าดัชนีความตรงตาม
เนื้อหา คือ 1) แบบสอบถามการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯ 2) แบบบันทึกการที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลฯ จากเวชระเบียน
ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากันคือ .95 3) แบบบันทึกการจัดการความปวดและ 4) แบบบันทึกการป้องกันการ
เกิดแผลกดทับและการดูแลของพยาบาลหาค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าเท่ากันคือ 1 หาความเชื่อมั่นของ
แบบสอบถามการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯของพยาบาลด้วยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคได้ .93 ซึ่งมีทั้งหมด
4 เครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ พิสัย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบวา่ 1) คุณภาพดา้ นกระบวนการ คะแนนการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯของพยาบาลโดยรวมอยู่
ในระดับมาก ( = 73.13 SD ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 11.41) แยกเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่
การประเมินและประสานงาน (ร้อยละ 93.3) ร่างกาย (ร้อยละ 96.7) จิตใจ (ร้อยละ 93.3) สังคม (ร้อยละ 96.7) และจิตวิญญาณ (ร้อยละ 93.3) 2) คุณภาพด้านผลลัพธ์ คะแนนความปวดก่อนการได้รับการจัดการความปวด = 7.08(SD = 1.02) ปวดมาก 8 คน (ร้อยละ 61.5) ปวดปานกลาง 5 คน (ร้อยละ 38.5) และคะแนนความปวดหลังได้รับการจัดการ = 2.94 (SD = 1.37) ปวดปานกลาง 5 คน (ร้อยละ 38.5) ปวดน้อย 8 คน (ร้อยละ 61.5) มีแผลกดทับ 7 คน (ร้อยละ 11.5) เป็นแผลระดับ 2 การดูแลแผลกดทับได้แก่ การพลิกตะแคงตัว และการใช้ที่นอนลม

Downloads