สุขภาวะมุอัลลัฟหญิงไทย-อีสาน: พันธะการแสวงหาทางจิตวิญญาณ และชีวิตใหม่ Muallaf Women Thai-Isan: Commitment, Quest for Spiritual Need and New Life
คำสำคัญ:
มุอัลลัฟ ผู้หญิงไทยอีสาน สุขภาวะ Muallaf, Thai-Isan woman, well-beingบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายของการเป็นมุอัลลัฟ หรือมุสลิมใหม่ของ
ผูห้ ญิง ไทย-อีสานชาวพุทธที่เปลี่ยนจากชาวพุทธเปน็ มุสลิม ผูใ้ หข้ อ้ มูลหลักซึ่งไดม้ าจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
จนข้อมูลอิ่มตัว เป็นผู้หญิงไทย-อีสานชาวพุทธที่เปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม และระบุว่าตนเองเป็นมุสลิมใหม่หรือ
มุอัลลัฟ จำนวน 21 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนาตามธรรมชาติ การสังเกต และการบันทึก
ภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระและใช้การตรวจสอบแบบสามเส้าเพื่อควบคุมคุณภาพของ
งานวิจัย
ผลการวิจัย ได้ข้อค้นพบที่เป็นแก่นสาระสำคัญ 3 ประเด็นที่เป็นความหมายของการมีสุขภาวะจากการเป็น
มุอัลลัฟ คือ 1) เป็นพันธะเพื่อชีวิตคู่ที่ราบรื่น 2) เป็นการแสวงหาทางจิตวิญญาณ และ 3) เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่
จากข้อค้นพบดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความต้องการของมุอัลลัฟในการได้รับการสนับสนุนด้านสุขภาวะจากการ
เปลี่ยนศาสนา และยํ้าให้เห็นความจำเป็นที่พยาบาลต้องพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรม เพื่อให้การดูแลแบบ
องค์รวมได้เหมาะสม
This qualitative research aims to explore meaning of being a Muallaf among Thai-Isan women who had converted from Buddhism to Islam. Using purposive sampling, 21 Thai-Isan women who converted from Buddhism to Islam and identified themselves as Muallaf participated in the study. Data were collected via in-depth interviews, natural conversations, observations and field notes, and were analyzed using thematic analysis. Triangulation was used to ensure the quality of the research. Three themes emerged to identify meanings related to wellbeing of being a Muallaf. Firstly, it is a commitment a happy family. Secondly, it is a quest related to the spiritual needs. Finally, it is a new life. The findings reveal that Muallaf need support for wellbeing. Knowledge from the study demonstrates a
need for nurses to enhance their cultural competency to provide appropriate holistic care.