ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าหลังคลอด Predictors of Postpartum Depression

ผู้แต่ง

  • นภัสนันท์ สุขเกษม
  • รัชนี เรืองพรวิสุทธิ์
  • พรรณพิไล ศรีอาภรณ์
  • วีรพันธ์ ศิริฤทธิ์
  • พรรณา วัชรประภาพงศ์

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด มารดาหลังคลอด ปัจจัยทำนาย Postpartum depression, Postpartum mother, Predicting Factors.

บทคัดย่อ

ภาวะซึมเศร้ามีความสำคัญต่อการพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอดซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่เชื่อว่า
เกิดจากหลายปัจจัยและส่งผลกระทบที่รุนแรงทั้งต่อตัวมารดาหลังคลอด ทารกและครอบครัว การวิจัยเชิงพรรณนา
แบบหาความสัมพันธเ์ ชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค ์ เพื่อศึกษาปจั จัยทำนายภาวะซึมเศรา้ หลังคลอด กลุม่ ตัวอยา่ ง
คือ มารดาที่มารับบริการตรวจหลังคลอด ณ แผนกผูป้ ว่ ยนอกสูติ – นรีเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 จำนวน 403 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ
เฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลัง
คลอด มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.80 และแบบสำรวจปัจจัยทำนายการเกิดภาวะซึมเศร้าหลัง
คลอดฉบับปรับปรุง ที่แปลเป็นภาษาไทยและแปลย้อนกลับโดยผู้วิจัย คำนวณหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรคูเดอร์
ริชาร์ดสัน 20 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์หาอำนาจการทำนายโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติค
ผลการศึกษาพบว่า มารดาหลังคลอดมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจำนวน 74 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.4 ปัจจัย
ที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม (β = 2.43,
p < .05) การตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการหรือการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผน (β = 1.58, p < .05) การสนับสนุนทางสังคม
จากสามีในด้านการไว้วางใจ (β = 2.98, p < .05) การสนับสนุนทางสังคมจากสามีในด้านสิ่งของเครื่องใช้ (β =
1.71, p < .05) การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนในด้านการไว้วางใจ (β = 1.41, p < .05) การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนในด้านสิ่งของเครื่องใช้ (β = -1.90, p < .05) ภาวะเครียดจากการดูแลบุตร (β = 1.01, p < .05) และลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์ของบุตร (β = 1.69, p < .05) ตามลำดับ

Depression, which the cause is not clearly known, is an important issue in the care of postpartum mothers. It is belief to occur from multi factors that has serious impact to postpartum mother, newborn, and family. The purpose of this predictive correlational research was to study predictors of postpartum mothers. Samples were purposive sampling of 403 postpartum mothers who came to follow up at the postpartum outpatient department, Chiang Rai Regional from October1, 2012 to February 28, 2015. The
instruments for data collection was a questionnaire including the Demographic Data Recording form; the Edinburgh Postnatal Depression Scale (EPDS) with the scale Cronbach’s alpha coefficient of 0.80; and the Postpartum Depression Predictors Inventory-Revised (PDPI-R) with the Kuder-Richardson 20 (KR-20) of .83. Data were analyzed using logistic regression analysis.

Downloads