การพัฒนาระบบบริการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง โรงพยาบาลมหาสารคามและโรงพยาบาลชุมชน เครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม The Development of Nursing Service System for High-Risk Pregnancy at Mahasarakham Hospital and Network

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี บำรุง
  • รัตติยา ทองสมบูรณ์
  • สมทรง บุตรตะ
  • รำไพ เกตุจิระโชติ

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบบริการพยาบาล หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง เครือข่าย development nursing service system, high risk pregnancy, network

บทคัดย่อ

โรงพยาบาลมหาสารคามมีการพัฒนาระบบบริการผูป้ ว่ ยอยา่ งตอ่ เนื่อง แตยั่งพบวา่ ผลลัพธข์ องระบบบริการ
พยาบาลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงยังไม่ได้ตามเกณฑ์หลายตัวชี้วัด จึงได้ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
เพื่อศึกษาพัฒนาและทดสอบประสิทธิของผลการพัฒนาระบบบริการพยาบาล หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงโรงพยาบาล
มหาสารคามและโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม มีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1
วิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การ
สังเกต และการสะท้อนการปฏิบัติ การปรับปรุงแผนการปฏิบัติในการวิจัยครั้งนี้ มี 2 วงรอบ คือ วงรอบที่ 1 การ
พัฒนาระบบบริการหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงในโรงพยาบาลมหาสารคาม วงรอบที่ 2 พัฒนาระบบการดูแลและรับ-ส่ง
ต่อหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม ระยะที่3ประเมินผล เก็บรวบรวม
ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิง
คุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า มีระบบบริการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของผู้รับบริการและทีมสุขภาพ มีแนวทางการดูแลและส่งต่อหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงร่วมกันทั้งเครือข่าย ส่งผลให้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงดีขึ้น ได้แก่ 1) ไม่พบอัตราตายของหญิงตั้งครรภ์ 2) อัตราตายทารก ลดลงเหลือ 4.91 : 1,000 การเกิดมีชีพ 3) ร้อยละการเกิดภาวะแทรกซ้อนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลดลงเหลือร้อยละ 12.9 4) ร้อยละการเกิดภาวะแทรกซ้อนทารกแรกเกิด เท่ากับ 10.88 5) ร้อยละพยาบาลที่มีสมรรถนะในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงผ่านเกณฑ์ เท่ากับ 93.9 6) ร้อยละการรับส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน ลดลงจากร้อยละ 10.4เป็นร้อยละ 10.2 7) ร้อยละการปฏิบัติตามแนวทางการส่งต่อหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงถูกต้อง เหมาะสมเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 98.7 8) ร้อยละการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะส่งต่อเท่ากับ 0.3 9) ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ
เท่ากับ 90.4 10) ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากรต่อระบบบริการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นเท่ากับ 86.2 11) ร้อยละ
ความพึงพอใจของบุคลากรต่อระบบส่งต่อเท่ากับ 90.3 ระบบบริการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงที่พัฒนาขึ้นเป็น
ระบบที่มีประสิทธิภาพสามารถใช้ร่วมกันทั้งเครือข่าย จึงควรมีการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบบริการในกลุ่มโรคอื่นๆ
ต่อไป

Health care service system in Mahasarakham Hospital continue developed; however, the process and outcomes of nursing service system for high-risk pregnancy didn’t meet the required indicators. Thus,participatory action research (PAR) was conducted aiming to develop and evaluate the nursing service system for high-risk pregnancy at Mahasarakham Hospital and community hospitals in Mahasarakham province. This study was divided into three phases.The first phase was situation analysis. The second phase was the development of the program comprised of four steps : planning, implementation, observation, and
reflection.Action plan improvement in this study composed of two cycles: 1) the development of the nursing service system for high-risk pregnancy at Mahasarakham Hospital and 2) the development of the nursing and referring service systems for high-risk pregnancy at community hospitals in Mahasarakhamprovince. The third phase was evaluation. Questionnaires and data collecting forms were used to collected data.
Quantitative data was analyzed using percentage. Qualitative data was analyzed using content analysis.

Downloads