ความท้าทายของพยาบาลในการสร้างสุขภาวะแก่สังคมที่ซับซ้อนโดยใช้ ทฤษฎีไร้ระเบียบ (Nursing Challenges in Health Promoting for Chaotic Society through Chaos Theory Application)

ผู้แต่ง

  • สมจิต แดนสีแก้ว

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงของสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้นจากหลายปัจจัย เริ่มจากการพัฒนาการศึกษาที่รุดหน้าจน
มนุษย์สามารถสร้างความเจริญทางเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกสบายแต่กลับนำสู่การทำลายธรรมชาติจน
เกิดภาวะโลกร้อน เทคโนโลยีอีกเช่นกันที่ทำให้มนุษย์ควบคุมการเกิดได้ดีส่งผลให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง
มีสัดสว่ นประชากรวัยเด็กนอ้ ยลงแตผู่สู้งอายุมากขึ้น และความเจริญทางการขนสง่ คมนาคมทำใหป้ ระชากรเกิดการ
เคลื่อนย้ายข้ามพื้นที่ ข้ามวัฒนธรรมเกิดการแข่งขันทางการค้าการตลาดจนเกิดสภาวะกวัดแกว่งทางเศรษฐกิจและ
การเมือง1,2 ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม ที่ดินทำกินไม่เพียงพอ ประชากรยากจน ด้อยการศึกษา มีการ
ใช้ยาเสพติด ก่ออาชญากรรมและคอร์รัปชั่น ตลอดจนมีปัญหาการเจ็บป่วยที่ซับซ้อนและทวีความรุนแรงขึ้น
ปัญหาสุขภาพในสังคมปัจจุบันไม่ได้เกิดจากสาเหตุเดียวแต่เกิดจากหลายสาเหตุ (Multiple factors) ทั้งโรค
ไม่ติดต่อ โรคติดต่อ และโรคจากปัญหาสังคม3,4 ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยยาตัวเดียวหรือวิธีบำบัดเดียว แต่
ท้าทายการสร้างสุขภาวะแบบองค์รวมและการประสานพลังเชิงบูรณาการอย่างเป็นระบบ เริ่มจากต้องใช้หลายวิธี
สืบค้นข้อเท็จจริงจากหลายกลุ่มประชากรเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีปฏิบัติจน
กลายเป็นวิถีชีวิตที่เอื้อให้เกิดสุขภาพดี5,6 และนี่เป็นโอกาสที่ท้าทายพยาบาลและผู้ให้บริการสุขภาพในการสร้าง
สุขภาวะของบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้สอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อม ความคิด ความเชื่อ บริบท
วัฒนธรรมสังคมที่ซับซ้อน (Complex society) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย6,7
ทฤษฎีไร้ระเบียบ เป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกนำมาแก้ไขปัญหาทางสังคมที่เกิดความโกลาหล หรือ อลหม่าน
แม้จะเป็นภาวะที่เป็นธรรมชาติของสังคมแต่ภาวะที่สังคมไร้ระเบียบก็ทำให้สุขภาพของมนุษย์มีความซับซ้อนยาก
ที่จะแก้ไขได้ด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่านั้น แต่ต้องการผสานอย่างเป็นระบบกับกระบวนทัศน์ด้านมนุษย์และ
สังคม8-11 บทความนี้ ผู้เขียนได้สังเคราะห์ความรู้และวิธีปฏิบัติจากงานวิจัยที่นำทฤษฎีไร้ระเบียบมาประยุกต์ใช้ใน
การสร้างสุขภาวะทั้งระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม รวมถึงการนำมาใช้ในการพยาบาลแม้จะพบเฉพาะ
ในต่างประเทศที่มีไม่มากนักและยังไม่พบในประเทศไทย แต่ก็หวังว่า บทความนี้จะทำให้พยาบาลได้ร่วมคิดและ
ปรับกระบวนทัศน์เพื่อสร้างสุขภาวะให้กับสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads