บทบาทพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอด

ผู้แต่ง

  • ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันอัตราการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง
เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั่วโลกพบว่าอัตราการผ่าตัด
คลอดสูงถึงร้อยละ 16.0-46.2 ซึ่งสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน
ขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 151 ใน
ประเทศไทยมีการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2555 พบว่าอัตรา
การผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องในโรงพยาบาลสังกัด
ภาครัฐ พบร้อยละ 29.4 และโรงพยาบาลเอกชนพบร้อย
ละ 61.22 สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้อัตราการผ่าตัด
คลอดสูงขึ้นคือ สตรีตั้งครรภ์เลือกที่จะผ่าตัดคลอดเอง
เนื่องจากความเชื่อว่าการผ่าตัดคลอดมีความปลอดภัยต่อ
ตนเองและทารกมากกว่าการคลอดเองทางช่องคลอด
สะดวก สามารถกำหนดวันเวลาในการคลอดได้แน่นอน
และเหตุผลที่สำคัญอีกประการคือ กลัวความเจ็บปวด
ทรมานที่เกิดขึ้นในระยะรอคลอดและระยะคลอด ทำให้
สตรีตั้งครรภ์ในปัจจุบันเลือกที่จะผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง3
ในขณะผา่ ตัดคลอดจะไมรั่บรูค้ วามปวดเนื่องจากไดรั้บยา
ระงับความรู้สึก ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้การระงับความรู้สึก
แบบเฉพาะสว่ น4 ซึ่งสตรีตั้งครรภจ์ ะยังรูสึ้กตัวตลอดเวลา
แตจ่ ะไมรั่บรูค้ วามรูสึ้กตั้งแตบ่ ริเวณทอ้ งสว่ นลา่ งถึงปลาย
เท้าทั้งสองข้าง ทำให้สตรีตั้งครรภ์ไม่ต้องเผชิญกับความ
ปวดในระยะคลอด แต่ถึงอย่างไรก็ตามสตรีตั้งครรภ์ก็ต้อง
เผชิญกับความปวดในระยะหลังผ่าตัดคลอดอย่างหลีกเลี่ยง
ไม่ได้ ดังนั้นพยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลเพื่อ
บรรเทาความปวดแก่มารดาหลังผ่าตัดคลอด ซึ่งบทความนี้
ไดก้ ลา่ วถึงความรูเ้ กี่ยวกับความปวดหลังการผา่ ตัดคลอด
หลักการสำคัญเกี่ยวกับการจัดการความปวด เริ่มตั้งแต่
การใช้เครื่องมือในการประเมินความปวด การวินิจฉัย
ความปวด การจัดการความปวดด้วยการใช้ยาและไม่ใช้
ยา และการประเมินผลการจัดการความปวด นับว่าเป็น
บทบาทสำคัญของพยาบาลเพื่อให้การจัดการความปวด
มีประสิทธิภาพสูงสุด

Downloads