ปัญหาและความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของ มารดาวัยรุ่น : กรณีศึกษาโรงพยาบาลด่านขุนทด The Problems and Needs of Breastfeeding Promotion among Adolescent Mothers: A Dase Study of Dankhunthot Hospital

ผู้แต่ง

  • นรีลักษณ์ สุวรรณโนบล
  • จินตนา วัชรสินธุ์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ

คำสำคัญ:

ปัญหาและความต้องการ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาวัยรุ่น problems and needs, exclusive breastfeeding, adolescent mothers

บทคัดย่อ

การศึกษารายกรณีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายปัญหาและความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่น โรงพยาบาลด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย มารดาวัยรุ่น 24 คนสามี 22 คน ย่า/ยาย 24 คน และทีมสุขภาพ 20 คน รวมทั้งสิ้น 90 คน ระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือน มีนาคม 2558 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม มารดาวัยรุ่น ครอบครัวและทีมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลทั่วไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนาผลการวิจัย พบวา่ มารดาวัยรุน่ มีความเชื่อเชิงบวกในการเลี้ยงลูกดว้ ยนมแมแ่ ละตอ้ งการเลี้ยงลูกดว้ ยนมแม่แต่ยังขาดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และต้องการการสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัวและทีมสุขภาพส่วนความต้องการการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของครอบครัว พบว่า ครอบครัวมีความเชื่อทางบวก สนับสนุนให้มารดาวัยรุ่นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต้องการให้ทีมสุขภาพสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ส่วนทีมสุขภาพมีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดี แต่พยาบาลที่มีประสบการณ์น้อยยังขาดทักษะการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด ยนมแม ่ มีความตอ้ งการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการใหค้ วามรูใ้ นโรงเรียนพอ่ แมแ่ ละมีการติดตามเยี่ยมมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ผลจากการวิจัยครั้งนี้เสนอให้นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่น ไปสู่การพัฒนารูปแบบหรือโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องสอดคล้องตามสภาพความเป็นจริง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์
ที่ดีต่อมารดาวัยรุ่นและครอบครัวต่อไป

The objective of this case study research was to discuss the problems and needs on breastfeeding promotion among adolescent mothers at Dankhunthot Hospital, Nakhon Ratchasima Province. The total of 90 key informants composed of 24 adolescent mothers, 22 husbands, 24 grandmothers, and 20 health care providers. The duration of data collection was from January to March 2015. The instruments used for data collection were the questionnaire about demographic data, the questionnaire on self-efficacy of adolescent mothers, in-depth interview and focus group discussion with adolescent mothers, families and health care providers. Qualitative data were analyzed by content analysis whereas personnel data were analyzed by descriptive statistics.

Downloads