การรับรู้ความยากของการจัดการโรคอ้วนลงพุงจากมุมมองผู้ที่มีโรคอ้วนลงพุง Perception of Difficulty Managing Metabolic Syndrome from Insider View
คำสำคัญ:
การรับรู้ความยากของการจัดการ โรคอ้วนลงพุง perception of difficulty managing, metabolic syndromeบทคัดย่อ
การจัดการกับโรคอ้วนลงพุง ที่สำคัญคือ การออกกำลังกายและการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
แต่เนื่องด้วยการรับรู้มีผลต่อพฤติกรรมของบุคคล และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเข้าใจกลุ่มบุคคลดังกล่าวซึ่งจะนำ
ไปสู่การออกแบบการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้โรคอ้วนลงพุงและ
การรับรู้การปรับพฤติกรรมของผู้ที่มีโรคอ้วนลงพุงระเบียบวิธีวิจัย เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้วิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ที่มีโรคอ้วนลงพุง จำนวน 19 คน วิเคราะห์ผลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษา พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีการรับรู้โรคอ้วนลงพุง เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) เป็นแค่อ้วนลงพุง และ 2) ไผกะเป็นเป็นโรคระบาด 3) เป็นที่มาของหลายโรค แต่ตอนนี้เหมือน (คน) ปกติ ในส่วนของการรับรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายพบว่า การรับรู้หลักคือ การออกกำลังกายดี แต่ทำไม่ได้ มีการรับรู้รอง 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การทำมาหากินเรื่องใหญ่กว่า 2) ออกกำลังกายครั้งใดเจ็บเมื่อยตัวทุกที 3) ไม่รู้ว่าออก (กำลังกาย) แบบไหนเรียกว่าดี เรียกว่าถูกในส่วนของการรับรู้เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พบว่า การรับรู้หลักคือ อดไม่ได้ มีการรับรู้รอง 3 ประเด็น ได้แก่ 1) หากินง่าย - กินหลายคน 2) งานบุญหลาย กินมาก และ 3) มื้อนี้ขออร่อย (แซบ) ไปก่อนเดี๋ยวค่อยลดการศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจความยากในการปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีโรคอ้วนลงพุง ดังนั้นการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารที่ถูกต้องในขณะเดียวกันจะต้องมีการประเมินและแก้ไขการรับรู้โรคอ้วนลงพุงไปด้วย
Lifestyle modification, both exercising and eating behaviors are crucial for people with metabolic syndrome. However, perceptions influence health behaviors and perceptions are basic information for understanding behavior among people with metabolic syndrome. Moreover perceptions are crucial for developing appropriate helping methods for this group. The objective of this study was to explore perceptions of metabolic syndrome and lifestyle modifications (exercising and eating) from an insider’s view. Research design : A qualitative study was used in this study. The researcher is an important instrument for data collecting. In-depth interview was also used in data collection process with semi - structure questionnaire. Participants were 19 persons with metabolic syndrome. Content analysis
was used in the process of data analysis. Results: Three main themes of perception related to metabolic syndrome are: 1) I’m just fat obese, 2) Almost everyone is fat. It is an epidemic. 3) It is starting point of many diseases, but now I look like a normal person. For exercise modification, the main theme is “It’s good but it’s really hard to do”. Three
sub themes emerged on this point : 1) Livelihood is more important 2) Exercise makes pain on the fairgrounds 3) I do not know “ what is a good exercise”. The last theme was related to eating behavior, the main theme is “I cannot control myself” . Three sub themes support the main theme. They are: 1) Easy access to food 2) It is delicious. 3) Eat first and then workout later.This study is useful for understanding perception of difficulty in managing metabolic syndrome.Hence, the assessment of metabolic syndrome perception is needed for developing lifestyle modification.