ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย และ เส้นรอบเอว ในผู้ที่มีภาวะ Prehypertension The Effect of Health Promoting Program on Blood Pressure, Body Mass Index and Waist Circumference in Prehypertensive Person

ผู้แต่ง

  • กมลธร วัสสา
  • วิพร เสนารักษ์

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ ภาวะ Prehypertension health promoting program, prehypertensive person

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อระดับความดันโลหิต ดัชนี
มวลกาย และเส้นรอบเอวในผู้ที่มีภาวะ Prehypertension กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ที่ได้รับการคัดกรอง
จากโรงพยาบาลชำนิ อ.ชำนิ จ. บุรีรัมย์ ว่ามีภาวะ Prehypertension จำนวน 72 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลาย
ขั้นตอน แล้วถูกจัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 36 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ดำเนินการ
ทดลองระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2557โดยให้การพยาบาลกลุ่มทดลองตามโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ
ที่สร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ส่วนกลุ่ม
เปรียบเทียบให้การพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป
และแบบบันทึกข้อมูลทางคลินิกที่วัดทั้งก่อนและหลังการศึกษาครบ 12 สัปดาห์ ได้แก่ ระดับความดันโลหิต ดัชนี
มวลกาย และเส้นรอบเอว วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความแตกต่างของตัวแปรตาม
ทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มด้วยสถิติทดสอบทีผลการวิจัย พบว่า 1) ภายหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิต และเส้นรอบเอวน้อยกว่าก่อนการทดลอง (p< .05) ส่วนค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย ไม่แตกต่างจากก่อนการทดลอง (p> .05) 2) ภายหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิต และเส้นรอบเอว น้อยกว่ากลุ่มเปรียบ เทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) โดยที่มีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p>.05) จากผลการวิจัยดังกลา่ ว ผูวิ้จัยมีขอ้ เสนอแนะวา่ โปรแกรมนี้มีประโยชนใ์ นการลดปจั จัยเสี่ยงตอ่ การเกิดความ ดันโลหิตสูง ได้แก่ ระดับความดันโลหิต และเส้นรอบเอว ควรมีการนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามี ภาวะ Prehypertension ซึ่งเป็นการให้บริการเชิงรุกโดยเฉพาะในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ อย่างไรก็ตามโปรแกรม นี้ยังไม่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับค่าดัชนีมวลกายได้มากพอที่จะมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ควรที่จะมีการปรับปรุงโปรแกรม โดยเพิ่มระยะเวลาในการดำเนินการ เพิ่มเติมกิจกรรมเกี่ยวกับการลดนํ้าหนัก เพื่อเพิ่มประสิทธิผลต่อการลดลงของดัชนีมวลกาย นอกจากนี้ควรมีการศึกษาผลระยะยาวของโปรแกรมต่อผลลัพธ์ทางคลินิกข้างต้นทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลเหล่านี้เกิดโรคความดันโลหิตสูงรวมทั้งภาวะแทรกซ้อนของโรค

The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of the health promoting program on Blood Pressal with prehypertension. The study was ure (BP), Body Mass Index (BMI) and Waist Circumference (WC) in individuconducted between Septembers – December 2014. By implementing a multistage cluster sampling technique, sample consisted of 72 people who were randomly assigned to ether an intervention or a comparison group, 36 people each. Individuals in an intervention group took part in a health promotion program while as the others in a comparison group follow usual care. The health

promoting program developed by the researcher based on Pender’s health promotion model and literature review. The study tools included the demographic data, BP, BMI and WC recording sheets. Data were analyzed using both descriptive statistics and inferential statistics; independent and paired t-test. The results of the study were as follows: 1) After the intervention, the means of both systolic and diastolic BP as well as of WC of the intervention group were decreased statistically significant (p < .05),compare with those of means before the intervention. However, there was no statistically significant
difference of BMI between before and after intervention. 2) After the intervention, the means of both systolic and diastolic BP as well as of WC of the intervention group were statistically significant less than those of comparison group (p < .05). However, there was no statistically significant difference of BMI between intervention and comparison group.
This health promoting program based on Pender’s model was effective in term of reduce BP and WC. However, it may not be effective enough to reduce BMI with in a limited of time. Then, the program needs either to be revised or redesigned as a long term study to improve its effectiveness and sustainability.

Downloads