การพัฒนารูปแบบการประเมินผลกระทบการประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข A Development of Quality Assurance Impact Assessment Model in Nursing College Public Health Ministration
คำสำคัญ:
ผลกระทบ รูปแบบการประเมินผลกระทบ การประกันคุณภาพการศึกษาบทคัดย่อ
การประเมินผลกระทบการประกันคุณภาพการศึกษามีประโยชน์อย่างยิ่งในการนำสารสนเทศที่ได้ไปสู่การ
ปรับปรุงและพัฒนาในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในวิทยาลัยพยาบาลซึ่งเป็นองค์กรสำคัญในการผลิตบัณฑิตพยาบาลที่ตอบสนองความต้องการของหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขส่งผลต่อมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่มีรูปแบบการประเมินผลกระทบการประกันคุณภาพการศึกษา การวิจัยและพัฒนาวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาตัวบ่งชี้การประเมินผลกระทบการประกันคุณภาพการศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการประเมินผลกระทบการประกันคุณภาพการศึกษา และ 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบประเมินผลกระทบการประกันคุณภาพการศึกษามีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนาตัวบ่งชี้การประเมินผลกระทบการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ 20 คน พิจารณาตัวบ่งชี้ครั้งที่หนึ่ง จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน พิจารณาตัวบ่งชี้ครั้งที่สองโดยใช้
การประเมินผลกระทบไขว้ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการประเมินผลกระทบการประกันคุณภาพการศึกษา และระยะที่ 3 การประเมินประสิทธิผลรูปแบบการประเมินผลกระทบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกรอบของ The JointCommittee on Standards fr Educational Evaluation ตามมาตรฐาน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความถูกต้อง 2) ด้านความเหมาะสม 3) ด้านความเป็นไปได้ และ 4) ด้านอรรถประโยชน์โดยใช้วิธีการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน