การศึกษาชุดของอาการในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด: การศึกษาแบบติดตามระยะยาว Symptom Cluster in Breast Cancer Patients Receiving Chemotherapy: A Longitudinal Study Approach
คำสำคัญ:
อุบัติการณ์ของอาการ/ความทุกข์ทรมาน/เคมีบำบัด/มะเร็งเต้านมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อุบัติการณ์และความทุกข์ทรมานจากอาการที่เกิดจาก
เคมีบำบัดในรอบแรก และรอบสุดท้าย 2) ชุดของอาการที่เกิดจากเคมีบำบัดในรอบแรก และรอบสุดท้าย ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดในโรงพยาบาลรามาธิบดีจำนวน 87 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2556 ถึง มิถุนายน 2557 โดยใช้เครื่องมือ 2 ชุด ได้แก่1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล โรคและการรักษา และ 2) แบบประเมินอาการและความทุกข์ทรมานจากอาการที่เกิดจากโรคและการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งของชาง และคณะ วิเคราะห์โดยใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของอุบัติการณ์ของอาการหลังรับเคมีบำบัดผลการวิจัย พบว่า อาการที่พบมากใน 5 อันดับแรกหลังรับเคมีบำบัดรอบแรก ได้แก่ อาการผมร่วง อ่อนเพลีย/ไม่มีแรง คลื่นไส้ เบื่ออาหาร และการรับรสอาหารเปลี่ยนแปลง หลังเคมีบำบัดรอบสุดท้าย ได้แก่ อาการผมร่วงการรับรสอาหารเปลี่ยนแปลง อ่อนเพลีย/ไม่มีแรง เบื่ออาหาร และผิวหนังเปลี่ยนแปลง ส่วนอาการที่มีความทุกข์ทรมานมากใน 5 อันดับแรกได้แก่ ผมร่วง ท้องเสีย ท้องผูก การรับรสอาหารเปลี่ยนแปลง และรู้สึกว่าตนเองไม่เหมือนเดิมเมื่อพิจารณาตามสูตรของเคมีบำบัดแต่ละสูตร นอกจากอาการผมร่วงและการรับรสอาหารเปลี่ยนแปลงที่พบในทุกสูตรของเคมีบำบัด ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดสูตร Docetaxel (T) อาการที่พบมาก ได้แก่ ปวด/ปวดเมื่อยตัว แขนขาผิวหนังเปลี่ยนแปลง เบื่ออาหาร ชาหรือแปลบ ตามปลายมือปลายเท้า และบวมบริเวณแขนหรือขา ส่วนเคมีบำบัด
สูตร Paclitaxel (P) ได้แก่ ปวด/ปวดเมื่อยตัว แขนขา อ่อนเพลีย/ไม่มีแรง ชาหรือแปลบ ตามปลายมือปลายเท้ารู้สึกตนเองไม่เหมือนเดิม และอาการคัน ผลการศึกษาชุดของอาการหลังให้เคมีบำบัดรอบแรกได้แก่ ชุดอาการข้างเคียงที่รบกวนระบบทางเดินอาหาร การเปลี่ยนแปลงการนอนหลับและการเปลี่ยนแปลงด้านภาพลักษณ์ ส่วนชุดของอาการหลังได้เคมีบำบัดรอบสุดท้ายได้แก่ ชุดอาการข้างเคียงที่รบกวนระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ระบบทาง
เดินอาหาร และการเปลี่ยนแปลงด้านภาพลักษณ์