การพัฒนาคุณภาพระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยหนัก จังหวัดสกลนคร The Development of Critical Nursing Care System, Sakon Nakhon Province

ผู้แต่ง

  • Kasorn Sunkris
  • Pailin Nudsuntear
  • Wipa Kaewken
  • Piyanuch Boonkong

คำสำคัญ:

ระบบบริการพยาบาล การพยาบาลผู้ป่วยหนัก การพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยหนัก
พัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยหนักและประเมินผลลัพธ์การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยหนัก ในจังหวัดสกลนคร ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการพัฒนา ระยะดำเนินการพัฒนาระบบและระยะประเมินผลลัพธ์ระบบบริการผู้ป่วยหนัก ผู้ร่วมวิจัยเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหารและทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 14 คน พยาบาลปฏิบัติการ จำนวน 85 คน และผู้รับบริการ จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจด้านโครงสร้าง พัฒนาโครงสร้าง ระบบบริการ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แนวทางสนทนากลุ่ม และแบบประเมินผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษา 1) ระยะเตรียมการพัฒนา พบประเด็นปัญหาทั้งด้านโครงสร้างสถานที่แอดอัด พยาบาลวิชาชีพมีอัตรากำลังและศักยภาพไม่เพียงพอ และอุปกรณ์เครื่องมือไม่เพียงพอ แนวทางการจัดระบบบริการการพยาบาลผู้ป่วยหนักและการประเมินผลลัพธ์ไม่ชัดเจน 2) ระยะดำเนินการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยหนัก โดยพัฒนาศักยภาพบุคลากร การทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ การควบคุมและปอ้ งกันการติดเชื้อ ระบบการเคลื่อนยา้ ยสง่ ตอ่ และดูแลต่อเนื่อง การมอบหมายงาน การทบทวนการดูแลผู้ป่วย ระบบสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์การแพทย์
3) ระยะประเมินผลลัพธ์การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยหนัก พบว่า ผู้ป่วยเตียงหนักเพิ่มขึ้น พยาบาลเฉพาะทางการพยาบาลวิกฤตเพิ่มขึ้น มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 90 อัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลง จากการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการปรับปรุงคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยหนัก ตรวจสอบผลลัพธ์ซํ้า ส่งเสริมให้นำแนวปฏิบัติมาใช้อย่างต่อเนื่อง

Downloads