ความรุนแรงของอาการในผู้เป็นมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับ การดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลแบบประคับประคอง และความพึงพอใจของญาติผู้ดูแล Symptom Intensity in Persons with Advanced Cancer Receiving Palliative Nursing Care Protocol and Caregivers’ Satisfaction

ผู้แต่ง

  • Ruechuta Molek
  • Varin Binhosen
  • Nam-oy Pakdevong

คำสำคัญ:

มะเร็งระยะลุกลาม ความพึงพอใจของญาติผู้ดูแล แนวปฏิบัติการพยาบาลแบบประคับประคอง ความรุนแรงของอาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียว โดยการศึกษาติดตามไปข้างหน้า เพื่อศึกษาความรุนแรงของอาการในผู้เป็นมะเร็งระยะลุกลามก่อน และหลังได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลแบบประคับประคองในส่วนของการจัดการกับอาการ และศึกษาความพึงพอใจของญาติผู้ดูแล โดยใช้กรอบแนวคิด The Nursing RoleEffectiveness Model ของ Irvine และคณะ ในการออกแบบให้พยาบาลที่ผ่านการอบรม Palliative care เป็นผู้นำในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลแบบประคับประคอง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้เป็นมะเร็งในระยะลุกลาม ที่เข้ารับการรักษาแบบประคับประคองตามอาการและญาติผู้ดูแล จำนวนกลุ่มละ 30 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐาน แบบประเมิน ESAS และแบบวัดความพึงพอใจของญาติผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลด้วย
สถิติเชิงบรรยาย และ Wilcoxon Signed Ranks test ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรุนแรงของอาการปวด อาการเหนื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน ไม่อยาก อาหาร และอาการหอบเหนื่อยในผู้เป็นมะเร็งระยะลุกลามภายหลังได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลแบบ
ประคับประคองลดลงกว่าก่อนได้รับการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และพบว่า ญาติผู้ดูแลมีค่าคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยภายหลังการจำหน่ายอยู่ในระดับมากผลการวิจัยนี้สนับสนุนประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการดูแลแบบประคับประคอง โดยควรนำแนวปฏิบัติไปใช้
ในการดูแลผู้เป็นมะเร็งระยะลุกลาม และควรศึกษาติดตามระยะยาวภายหลังการจำหน่ายต่อไป

Downloads