ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร ในผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ The Effects of A Perceived Self-Efficacy Program on the Exercise and Diet Behaviors of Patients with Ac

ผู้แต่ง

  • Sornpit Prompiw
  • Chuanpit Tumnong
  • Suporn Wongkpratoom
  • Chaiyasith Wongvipaporn

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถตนเอง พฤติกรรมการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร กลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารในผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการดูแลรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 22 คน ทำการคัดเลือกตามเกณฑ์ และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 11 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองโดยใช้ทฤษฎีของแบนดูรา1  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกลักษณะทั่วไปและภาวะสุขภาพ แบบบันทึกความสามารถในการออกกำลังกาย(6MWT) แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถตนเอง และ แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติที 

Downloads

How to Cite

1.
Prompiw S, Tumnong C, Wongkpratoom S, Wongvipaporn C. ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร ในผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ The Effects of A Perceived Self-Efficacy Program on the Exercise and Diet Behaviors of Patients with Ac. J Nurs Ther Care [อินเทอร์เน็ต]. 27 พฤษภาคม 2015 [อ้างถึง 18 มีนาคม 2025];33(1):23-3. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/35900