การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ หอผู้ป่วยหู คอ จมูก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ A Model Development of Discharge Planning in Head and Neck Cancer Patients ENT unit, Buriram Hospital

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ เขมโชติกูร
  • สุกัญญา ศรีสง่า
  • สุนทรีย์ ศิริพรอดุลศิลป์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ/การวางแผนจำหน่าย/ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ A Model Development / Discharge Planning/ Head and Neck Cancer Patients

บทคัดย่อ

A research  and development (R&D ) was adopted in  this research  to development the model  of  discharge  planning  in head and neck cancer patients, who admits a  ENT unit at Buriram Hospital from  1 April 2007 to 31 October 2009.    The sample group  1) The 33 patients head and neck cancer of patients

2) The care giver 33 persons 3) The health care team : Doctor, Nurse, Physiotherapist and Nutritionist. The methods  : Beginned from study original discharge planning, set a  new discharge planning, try out  and do evaluation.  The instrument for data collection was assessed format discharge plan, tracheostomy self care’s  picture book  and  NG feed   self care’s picture book, Model of tracheostomy care, assessed format ability in activity practice nurse , record format re-admission and the average length of stay . The statistics: percentage mean and t-test.

The results : The model of discharge  planning 1) The structure a) The health care team : Doctor,

Nurse, Physiotherapist and Nutritionist.b) The head and neck cancer patients and care givers were client 2) The 3 step of discharge planning 2.1) Ability’s  development to the patients preparation and care givers of continuing care with  knowledge from  the picture book, model of tracheostomy 2.2) Skill’s development by The demonstration and training 2.3) Have the skill in self care and continuing care.        3) The result in hospital, the care giver could to self care  the patients on tracheostomy and NG feed or gastrostomy feed has been 100% but when follow phone visiting , the care giver could  self care          their patients on tracheostomy 92.9 % and self care  the patients on NG feed or gastrostomy feed  90 % , re-admission 3.0%  and re-admission of the development of discharge  planning was significantly lower than those in original discharge  planning.(p-value < 0.001), the average length of stay  of the development of discharge  planning was significantly higher than those in original discharge  planning.   (p-value < 0.001), the average length of stay  of the original discharge  planning was 7.7 days and development of discharge  planning was 8.2 days.   In conclusion, the results indicated that the model of  discharge  planning in  head and neck cancer patients helped the patients and care giver could do their self care  at home . The results of this study could be applied to the other hospital.

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอและศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ ที่มารับการรักษาในหอผู้ป่วยหู คอ จมูก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่าง1เมษายน 2550 – 31ตุลาคม 2552 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ จำนวน 33 คน 2) ผู้ดูแลผู้ป่วยจำนวน 33 คน 3) ทีมสุขภาพ ได้แก่แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัดและโภชนากร วิธีดำเนินการศึกษา เริ่มจากศึกษาสถานการณ์การวางแผนจำหน่ายเดิม   กำหนดรูปแบบการวางแผนจำหน่ายใหม่  ทดลองปฏิบัติและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินการวางแผนจำหน่าย สมุดภาพเรื่องการดูแลผู้ป่วยเจาะคอ การให้อาหารทางสายยาง หุ่นโมเดลเจาะคอ  แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล

แบบบันทึกการกลับมารับการรักษาซ้ำและจำนวนวันนอนของผู้ป่วย  สถิติที่ใช้คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ t-test

ผลการศึกษาพบว่า ได้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายประกอบด้วย 1) โครงสร้าง คือ ก) ทีมสุขภาพได้แก่แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัดและโภชนากร ข) ผู้ป่วยและผู้ดูแลเป็นผู้รับบริการ ค) มีสื่อคือ    สมุดภาพ หุ่นโมเดลเจาะคอ  2) กระบวนการวางแผนจำหน่ายประกอบด้วย 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การพัฒนาความสามารถโดยการเตรียมผู้ป่วยและผู้ดูแลด้วยการให้ความรู้ประกอบสมุดภาพ หุ่นโมเดล  เจาะคอ    ระยะที่ 2 พัฒนาทักษะโดยการสาธิตและร่วมฝึกปฏิบัติ  ระยะที่ 3 มีทักษะในการดูแลผู้ป่วย มีระบบการ    ส่งต่อ 3) ผลลัพธ์ ขณะอยู่โรงพยาบาลผู้ดูแลสามารถปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเจาะคอและหรือให้อาหารทางสายยางได้ถูกต้องร้อยละ 100   แต่เมื่อติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์พบว่าผู้ดูแลสามารถปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเจาะคอได้ถูกต้องร้อยละ 92.9 และให้อาหารทางสายยางได้ถูกต้องร้อยละ 90   อัตราการกลับมารับการรักษาซ้ำ  ร้อยละ 3.0 โดยผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่พัฒนาขึ้นมีอัตราการกลับมารับการรักษาซ้ำน้อยกว่าการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) แต่จำนวนวันนอนเฉลี่ยหลังใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่พัฒนามากกว่าก่อนการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) โดยจำนวนวันนอนเฉลี่ยก่อนการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่พัฒนาเท่ากับ  7.7 วันและหลังจากพัฒนาเท่ากับ 8.2 วัน จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่พัฒนาขึ้นทำให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถกลับไปดูแลตนเองที่บ้านได้ ผลการศึกษาอาจนำไปใช้ในการ วางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอในโรงพยาบาลอื่นๆได้

Downloads