คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของหญิงขายบริการทางเพศในจังหวัดแห่งหนึ่ง Health-related Quality of Life among Female Commercial Sex Workers in one Province

ผู้แต่ง

  • ทิพย์วิมล เดชภูมี
  • เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร

คำสำคัญ:

Schizophrenic Patients Quality of life Wellness Program, คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ หญิงขายบริการทางเพศ

บทคัดย่อ

This qualitative research aimed to explore meaning of health-related quality of life according to perception of female sex workers as well as to investigate health-related quality of life among this target group. Participants were 35 female sex workers in one Province. Data were collected by structured interview for personal information and in-depth interview with non-participatory observation and field notes. Triangulation methods were used for trustworthiness of information. Data were analyzed using content analysis technique.

It was found that health-related among female sex workers denoted the importance of living with comfortable life or ‘Usuk sabai’. The perception of health-related quality of life among female sex workers was categorized into 6 dimensions: physical health was perceived differently among these women that could be fatigue from work and ill health related to work. Some female sex workers were addicted to substance use such as amphetamine, alcohol, and nicotine in order to become energetic and confident for work. Mental health contained both contentment and discontent among these women. Access to healthcare service was raised as an important issue related to quality of life. In general, female sex workers had a supportive social relation with friends and other sex workers. Nevertheless, there were sometimes that they completed each other to snatch the customers. The sex workers perceived that they earned good income but it was insecure from work regardless of its effortlessness and short time-consuming. Some sex workers were in debt. Lastly, physical living environment was another significant dimension of quality of life that these women satisfied for its safety and convenience.

Study findings can be used as background information in developing a plan to improve health-related quality of life for female sex-workers. In addition, findings are useful for improving service to prevent sexual transmitted diseases and HIV infection among these women.

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาความหมาย และการรับรู้คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของหญิงขายบริการทางเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงขายบริการทางเพศในจังหวัดแห่งหนึ่ง จำนวน 35 คน เก็บข้อมูลโดยการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจดบันทึกภาคสนาม ตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า หญิงขายบริการทางเพศให้ความหมายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพคือ ‘ความสุขสบาย’ ในส่วนของการรับรู้คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพทั้ง 6 องค์ประกอบพบว่า ด้านสุขภาพกาย หญิงขายบริการทางเพศรับรู้ว่า ร่างกายของตนอ่อนล้าจากการทำงาน บางคนมีความเจ็บป่วยจากการทำงาน บางคนมีการใช้สารเสพติด เช่น ยาบ้า ดื่มสุรา และสูบบุหรี่ เพื่อให้มีความสามารถในการทำงานมากขึ้น ด้านสุขภาพจิต พบว่าหญิงขายบริการทางเพศดำเนินชีวิตอย่างสุขปนทุกข์ในเวลาเดียวกัน ด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยสามารถเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพได้ และไปรับการตรวจสุขภาพตามกฎของสถานบริการ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและสังคม หญิงขายบริการทางเพศมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน แต่บางส่วนมีการแข่งขันกันเองในกลุ่มเพื่อแย่งผู้มาใช้บริการ ด้านเศรษฐกิจพบว่า การขายบริการทางเพศเป็นงานที่สบายรายได้มากแต่ไม่มีความมั่นคง บางคนมีหนี้สิน และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพพบว่า มีความพึงพอใจกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย มีความปลอดภัย และสะดวกสบาย

จากการศึกษาในครั้งนี้ ผลการศึกษาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของหญิงขายบริการทางเพศให้ดีขึ้น และยังสามารถนำไปปรับปรุงการให้บริการเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ต่อไป

Downloads