โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเองของผู้นิเทศทางการพยาบาลโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีThe Self Empowerment Program of Nursing Supervision, Suratthani Hospital.
คำสำคัญ:
self empowerment, nursing supervision, การเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเอง ผู้นิเทศทางการพยาบาลบทคัดย่อ
The objective of this research and development were 1) to develop self empowerment program 2) to enhance a capacity among nursing supervision. Procedures: the study had 4 steps; 1 ) was a situation analyze empowered nursing supervision by questionnaire that composed of resource support opportunity information among 30 head nurses. 2) developing self empowerment program by the results from step 1 and concepts self empowerment (Gibson, 1993) and review literature were used to develop draft self empowerment program . After that, the program was formed and evaluated by 5 experts 2 times and revised in accordance in level of good 3) performing a tryout of self empowerment program was done among 10 head nurses by coaching 12 activities for 20 hours. To evaluate the efficacy of the program after finishing by perceived self empowerment questionnaires were at good level. 4) improving the self empowerment program in order to make it more concise, this program was improved self regulation behavior record form. Subsequently, the complete supplementary self empowerment program of nursing supervision was constructed.
The result show that:
Self Empowerment Program was created using for nursing supervision at Suratthani Hospital. The program composed of 12 activities and self empowerment report form. Each activity had objective, procedure, time, application and self empowerment report from.
Nursing Department at Suratthani Hospital should be implement the program for nursing supervision and evaluated after implementation for human resource development.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจและพัฒนาศักยภาพของผู้นิเทศทางการพยาบาล การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1) วิเคราะห์สภาพการณ์เสริมสร้างพลังอำนาจของผู้นิเทศ โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการณ์เสริมสร้างพลังอำนาจผู้นิเทศ ประกอบด้วย การได้รับทรัพยากร การได้รับการสนับสนุน การได้รับโอกาส การได้รับข้อมูลข่าวสาร กลุ่มประชากร คือ จำนวน 30 คน 2) จัดทำโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเอง โดยนำข้อมูลจากขั้นที่ 1 ร่วมกับกรอบแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเองของกิ๊บสัน (Gibson) และการทบทวนวรรณกรรม เพื่อจัดทำโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเอง ผ่านผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน พิจารณาความเหมาะสมและความสอดคล้องของโครงสร้างโปรแกรมจำนวน 2 ครั้ง และปรับปรุงแก้ไข จนกระทั่งโครงร่างโปรแกรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ และได้นำไปทดลองใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเอง กับกลุ่มตัวอย่างหัวหน้าหอผู้ป่วยจำนวน 10 คน ในการเข้าร่วมกิจกรรม 12 กิจกรรม โดยวิธีการสอนแนะ(Coaching) เป็นระยะเวลา 20 ชั่วโมง ประเมินประสิทธิภาพโปรแกรมหลังจากสิ้นสุดการเข้าร่วมโปรแกรม โดยใช้แบบสอบถามการรับรู้พลังอำนาจในตนเอง ผลการศึกษาพบว่าอยู่ในระดับดี 4) ปรับปรุงโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเองของผู้นิเทศทางการพยาบาลโดยปรับปรุงแบบบันทึกพฤติกรรมการกำกับตนเองให้มีความกะทัดรัด และปรับปรุงรายละเอียดให้เหมาะสมในการจัดทำเป็นโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้นิเทศทางการพยาบาลฉบับสมบูรณ์
ผลการวิจัย พบว่า ได้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเองของผู้นิเทศทางการพยาบาล โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ซึ่งโปรแกรมประกอบด้วย กิจกรรมขณะเข้าร่วมโปรแกรม 12 กิจกรรม โดยเน้นการใช้ทักษะที่สำคัญ เช่น ทักษะการพูดและการนำเสนอ ทักษะการจูงใจและเสริมแรง ทักษะสัมพันธภาพที่พึงประสงค์ ทักษะการให้ข้อมูลย้อนกลับ ผลลัพธ์ที่ได้จากการฝึกกิจกรรมทำให้ผู้นิเทศทางการพยาบาลรับรู้พลังอำนาจในตนเอง
จากผลการวิจัยดังกล่าว ทำให้ผู้นิเทศทางการพยาบาล ตระหนักในความสำคัญของการเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเอง มีแรงจูงใจในตนเอง และได้รับรู้ความสามารถของตนเอง จนกระทั่งพึงพอใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ดังนั้น กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ควรสนับสนุนให้นำโปรแกรมลงสู่การปฏิบัติจริง และประเมินผลการใช้โปรแกรมเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรต่อไป