การพัฒนาแนวทางการควบคุมวัณโรคในชุมชนของโรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนครThe Development of Practice Guideline for Tuberculosis Control in Community of Wanonniwat Hospital, Wanonniwat District Sakonnakhon Province

ผู้แต่ง

  • ปรียา สินธุระวิทย์
  • วันเพ็ญ ปัณราช ปัณราช

คำสำคัญ:

The Control ling of Tuberculosis in Community, TB, การควบคุมวัณโรคในชุมชน วัณโรค

บทคัดย่อ

This  action research aimed to analyze situation and to develop an  appropriate  guideline  of controlling  for  tuberculosis   in Wanonniwat  hospital  community. Sakonnakhon Province. The  data 50 health officers , DOT watchers ,TB patients was  collected by register, interviews, group discussions, observation and note taking from the patients. The research tools were the guideline for interview and guideline for group discussion. The 50 related people. The quantitative information was analyzed to obtain frequency and percentage and qualitative information was analyzed to obtain content.

The results show that the tuberculosis patients, community organization, and the health care providers did not have enough knowledge for  tuberculosis caring, control the official staffs lack of guideline. The developed guideline ware as follow. 1) The finding of new    TB patients from tough people and risk people for fastest checking and controlling. 2) The effective treatment with DOTS\system 3) TB host controlling and community cleaning. 4) The collaboration of information among hospital and community for surveillance, prevention and control.

Inconclusion from the study all TB patients were be cured in continually unit they were getting well. Tuberculosis were cured and control by collaboration among community organization, health care province, voluntears, patients and staffs. The successful for the prevention in order to promote the effectiveness and sustainability of the TB controlling.

 

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และพัฒนาแนวทางในการควบคุมวัณโรคในชุมชนของโรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เก็บรวบรวมข้อมูลจากทะเบียนและรายงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมการสัมภาษณ์  การสนทนากลุ่ม  และการสังเกตการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครพี่เลี้ยง และผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์ แนวทางการสนทนากลุ่ม ทั้งหมด 50 คน การวิเคราะห์ข้อมูล  ข้อมูลเชิงปริมาณนำมาวิเคราะห์ทางสถิติเป็นความถี่ และร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย จากการวิเคราะห์สถานการณ์ของการควบคุมวัณโรคในชุมชน พบว่า ผู้ป่วยวัณโรค พี่เลี้ยงผู้ป่วยวัณโรค องค์กรในชุมชน มีความรู้ไม่เพียงพอ รวมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องยังขาดแนวทางในการควบคุมวัณโรคที่เหมาะสม จึงได้ร่วมกันพัฒนาแนวทางการควบคุมวัณโรค ดังนี้ 1) การค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน ในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วย และกลุ่มเสี่ยงต่างๆ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และควบคุมโรคอย่างรวดเร็ว 2) การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพตามระบบ DOTS 3) การควบคุมรังโรค และการทำลายสิ่งปฏิกูลในชุมชน 4) การประสานงานส่งต่อข้อมูลทั้งในสถานบริการและในชุมชน เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค

ผลจากการนำแนวทางพัฒนามาใช้ พบว่า ผู้ป่วยวัณโรค พี่เลี้ยงผู้ป่วยวัณโรค องค์กรในชุมชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สามารถควบคุมวัณโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการการควบคุมวัณโรค ทำให้เกิดผลสำเร็จในด้านการควบคุมวัณโรค เกิดประโยชน์ต่อผู้รับบริการอย่างแท้จริง

 

 

Downloads