การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอด โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี Development of a Pulmonary tuberculosis health care in Banphue Hospital Udonthani Province

ผู้แต่ง

  • ฉันทนา ชาวดร ชาวดร
  • เพชรไสว ลิ้มตระกูล ลิ้มตระกูล

คำสำคัญ:

pulmonary tuberculosis (TB) health care, TB, การวิจัยเชิงปฏิบัตการนี้ศึกษาสภาพการณ์และพัฒนาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอด มี 2 ระยะ ระยะแรกศึกษาสภาพการณ์ในคลินิกบริการและสถานบริการเครือข่ายโรงพยาบาลบ้านผือ จำนวน 21 แห่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในกลุ่มของบุคลากรด้านสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและพี่เลี้ยงกำกับการกินยา สนทนากลุ่มผู้ป่วยวัณโรคปอ

บทคัดย่อ

This Action research aimed to analyze the care situation and to develop a TB health care for both the Banphue hospital TB clinic and the 21 collaborating health Promoting Hospital of  Banphue hospital.  The Chronic Care Model (CCM) was used to guide the first phase of the study in assessing the existing conditions of TB health care and analyzing obstacles faced.  Data were collected through  semi-structure interviews of healthcare-related administrators, healthcare personnel responsible in providing TB health care in both the TB clinic and the health Promoting Hospital, relevant officers from the Tambon Administrative Organizations (TAO), and DOT watchers, focus group discussions among TB patients and village health volunteer,  behavioral observations of the health personnel at work and the patients’ and their DOT watchers’ behaviors at the clinic, and  patients’ medical records.  The second phase was then undertaken to develop the comprehensive TB health care  in Banphue hospital TB clinic and 5 network.  A content analysis was used to examine qualitative information.  Quantitative data was analyzed to obtain descriptive statistic.

A situational analysis of the existing TB healthcare services revealed that: TB patients possessed incorrect practice and un concerning toward the treatment regimen, prevention of TB transmission, and follow-up visits. The DOT watchers did not consistently observe the patients’ medication takings. The TB clinic was understaffed and The protocol for collaboration and referral of patients’ information were not clearly defined. As a result, project participants brainstormed to develop the TB healthcare service and implement the following activities: 1) Promotion of the patients’ self-care for TB patients who possessed incorrect practice Health personnel also used the teaching media developed in this project to advice the DOT watchers about TB-related knowledge, medication adherence and basic patient care. 2) Improvement of TB healthcare service by increasing the number TB clinic staffs and rescheduling the clinic day to better suit with patient loads.  3) Development of a referral guideline between the TB clinic and all collaborating health centers. 4) Creating a TB home visit guideline.

After the project implementation, 25 TB patients participated in this project. 24 patients (96%) were completely cured.  All new TB cases (7 patients) were properly referred from the TB clinic to responsible health centers and visited at home according to the home visit criteria.

การวิจัยเชิงปฏิบัตการนี้ศึกษาสภาพการณ์และพัฒนาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอด มี 2 ระยะ ระยะแรกศึกษาสภาพการณ์ในคลินิกบริการและสถานบริการเครือข่ายโรงพยาบาลบ้านผือ จำนวน 21 แห่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในกลุ่มของบุคลากรด้านสาธารณสุข  เจ้าหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและพี่เลี้ยงกำกับการกินยา สนทนากลุ่มผู้ป่วยวัณโรคปอด และอาสาสมัครสาธารณสุข สังเกตการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และพฤติกรรมของผู้ป่วยและพี่เลี้ยงในคลินิกวัณโรค และแบบบันทึกต่าง ๆโดยใช้กรอบแนวคิดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 6 องค์ประกอบ ระยะที่สองพัฒนาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในคลินิกวัณโรคและสถานบริการเครือข่ายจำนวน 5 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติพรรณา

ผลการศึกษาพบว่า  ผู้ป่วยวัณโรคปอดปฏิบัติไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาวัณโรค การป้องกันแพร่กระจายเชื้อ การติดตามการรักษาตามนัด พี่เลี้ยงกำกับการกินยาส่วนใหญ่ไม่ได้ดูแลกำกับการกินยาของผู้ป่วยอย่างจริงจัง  อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในการให้บริการในคลินิกวัณโรคมีไม่เพียงพอ การประสานส่งต่อข้อมูลและแนวทางการเยี่ยมติดตามผู้ป่วยไม่ชัดเจน  จากสถานการณ์ได้ระดมสมองวางแผนพัฒนา และดำเนินการตามแผนดังนี้ 1)  การสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคที่มีปัญหาการรักษา การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และการมาตรวจตามนัด โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรครายบุคคล และรายกลุ่มโดยใช้สื่อการสอนที่พัฒนาขึ้น ให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคในกลุ่มพี่เลี้ยงและแนะนำเกี่ยวกับการกำกับการกินยาและการดูแลผู้ป่วย  2) เพิ่มอัตรากำลังในคลินิก และปรับเปลี่ยนวันให้บริการ  3) พัฒนาแนวทางการประสานข้อมูลผู้ป่วยระหว่างคลินิกวัณโรคกับแผนกต่างๆ และ  เครือข่ายบริการ  4) พัฒนาแนวทางการเยี่ยมติดตามผู้ป่วยวัณโรค

ผลการดำเนินงานพบว่าผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เข้าร่วมในกระบวนการศึกษา จำนวน 25 คน ได้รับการรักษาหายขาดร้อยละ 96 ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 7 คนได้มีการประสานส่งต่อข้อมูลและติดตามเยี่ยมตามแนวทางครบทั้ง 7 คน

Downloads