การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในระยะสุดท้าย หอผู้ป่วยอายุรกรรม 2 โรงพยาบาลร้อยเอ็ด Development of palliative care model for elderly patient with chronic illnesses at the end - of - life in two medical unit of Roi-Et hospital

ผู้แต่ง

  • วรรณภรณ์ พัฒนิบูลย์
  • จีรพันธ์ ประทุมอ่อน
  • จุธาลักษณ์ แก้วมะไฟ

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ระยะสุดท้าย การดูแลแบบประคับประคอง elderly patient, chronic illness, end-of-life, palliative care

บทคัดย่อ

This action research type mutual collaborative approach aimed to develope palliative care model for elderly patient with chronic illness at the end - of - life in medical unit of Roi-Et hospital. Key informants included  elderly patient with chronic illnesses at the end of life and their family members. Physicians and nurse who care patient in two medical ward. Data Collected was done observe, interview, focus group discussion.  The study was conducted during January 2012 – June 2012. Research instruments consisted of a assessment form, problem list form,  counseling form, communication form for multidisciplinary team, assessment form for dying, quality of life assessment scale , preference scale for family’s patient from palliative care model , preference scale for nurse in use palliative care model and palliative care model for elderly patient. Carried out in three phase. Phase 1 was includes  a situational analysis, factor influence to development  palliative care model. Phase 2 was  implement includes participation, develop guideline, education and train for nurse  and develop model. Phase 3 was evaluation out comes. Quantitative data were analyzed with percentages.  Qualitative data were analyzed with content analysis.

Results revealed that final palliative care model for elderly patient with chronic illnesses at the end - of – life include the following : relationship for trust, physical aspect of care, culture aspect of care, social aspect of care, psychological and psychiatric aspect of care, spiritual aspect of care, legal and ethic of care.   Evaluation out comes following : elderly patient had to  very good quality of life 77.7 percentage. Family preference with palliative care model 81.9 percentage. Nurse preference with palliative care model 100 percentage.

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ระดับการลงมือปฏิบัติร่วมกันนี้ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในระยะสุดท้าย ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม 2 โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในระยะสุดท้ายและญาติ และ ทีมสุขภาพ  ได้แก่ แพทย์ พยาบาล รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม ระยะเวลาในการศึกษา เดือน มกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2555 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินรับผู้ป่วยไว้ดูแล แบบบันทึกปัญหาทางคลินิก การให้คำปรึกษา การสื่อสารระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ แบบประเมินการดูแลผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต แบบประเมินคุณภาพชีวิต แบบประเมินความพึงพอใจของญาติและพยาบาล และการดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา และวางแผนพัฒนา ระยะที่ 2 ประชุมปรึกษาผู้ร่วมวิจัย จัดทำแนวปฏิบัติ ให้ความรู้แก่พยาบาลฝึกทักษะ ดำเนินการพัฒนารูปแบบ ระยะที่ 3  ติดตามและประเมินผล สรุปผลรูปแบบการดูแลแบบประคับประคอง ประเมินผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย ครอบครัว และบุคลากร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย รูปแบบการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังระยะสุดท้าย   มีความต่อเนื่องตั้งแต่แรกวินิจฉัยภาวะเจ็บป่วยเข้าสู่ระยะสุดท้ายจนถึงหลังการสูญเสีย ประกอบด้วย การสร้างสัมพันธภาพเพื่อความไว้วางใจ การดูแลด้านร่างกาย วัฒนธรรม สังคม สุขภาพจิตและจิตเวช จิตวิญญาณ กฎหมายและจริยธรรม ผลลัพธ์การดูแล พบว่า ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตระดับดีมากร้อยละ 77.7 ครอบครัวมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลแบบประคับประคองระดับมากร้อยละ 81.9 พยาบาลในหอผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในระยะสุดท้ายและครอบครัวระดับมาก ร้อยละ100 รูปแบบการดูแลที่พัฒนาขึ้น ได้ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสูงอายุและญาติดีขึ้น    ดังนั้นจึงควรนำรูปแบบการดูแลนี้ไปใช้ดูแลผู้ป่วยวัยอื่นต่อไป

Downloads