ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ Predictive Factors of Depression Among Older People with Chronic Disease in Buriram Hospital.

ผู้แต่ง

  • สายพิณ ยอดกุล
  • จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า ปัจจัยทำนาย ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง depression, predictive factors, among older people, chronic disease

บทคัดย่อ

The purposes of this cross-sectional study were to explore the level of depression and determine predictive factors of depression among older people with chronic disease in Buriram Hospital. The subjects consisted of 183 elderly patients with chronic disease in Buriram Hospital.  Data were collected via structured interview using five questionnaires: A questionnaire on demographic data, a questionnaire on perception of illness severity, a questionnaire on activity of daily life (ADL), a questionnaire on Thai Geriatric Depression Scale (TGDS), a questionnaire on relationship with family. Data were analyzed by using descriptive statistics and logistic regression.  Statistical significance was set at 0.05. The results of the study showed that 51.4 percent of the subjects were depression, 19.1 percent were mild depression, 25.2 percent were moderate depression and 7.1 percent were severe depression. The five predictive factors of  depression among older people with chronic disease in Buriram Hospital were sex female (OR = 0.093, p-value <0.001 , 95%CI : 0.038 - 2.227) age above 75 years ( OR = 35.894, p-value <0.001 , 95%CI : 5.973 – 215.717) number of comorbidity above two (OR = 5.691 , p-value <0.001 , 95%CI : 2.194 – 14.764) poor activity of daily life (OR = 9.023 , p-value =0.024 , 95%CI : 1.343 - 60.636) relationship with family (OR = 0.126 , p-value =0.001 , 95%CI : 0.039 - 0.406)

 

การศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะซึมเศร้าและปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวน 183 ราย เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน แบบวัดภาวะซึมเศร้า แบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Logistic Regression โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 51.4 ของกลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้า โดยที่ร้อยละ 19.1 มีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับเล็กน้อย ร้อยละ 25.2 อยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 7.1 อยู่ในระดับรุนแรง และปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ได้แก่ เพศหญิง (OR = 0.093, p-value <0.001 , 95% CI : 0.038 - 2.227)  อายุ 75 ปี ขึ้นไป ( OR = 35.894, p-value <0.001 , 95% CI : 5.973 – 215.717) การมีโรคประจำตัว 2 โรคขึ้นไป (OR = 5.691 , p-value <0.001 , 95% CI : 2.194 – 14.764) ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันที่ต้องพึ่งพา (OR = 9.023 , p-value =0.024 , 95% CI : 1.343 - 60.636) การมีสัมพันธภาพกับครอบครัว (OR = 0.126 , p-value =0.001 , 95% CI : 0.039 - 0.406)  เป็นตัวแปรที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads