ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลต่อการรับรู้สมรรถนะตนเอง และพฤติกรรมของพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ผู้แต่ง

  • จุฬา ยันตพร
  • ประภา รัตตสัมพันธ์
  • นํ้าอ้อย ภักดีวงศ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาล การรับรู้สมรรถนะตนเอง พฤติกรรมของพยาบาลในการ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, enhancing self-efficacy program, self-efficacy and breastfeeding promoting behavior

บทคัดย่อ

The purpose of this pre-experimental study one group pre-posttest design was to investigate the effectsof enhancing self-efficacy program on nurses’ perceived self-efficacy and behavior in breastfeeding promotion.Bandura’s self-efficacy theory was used as conceptual framework to develop the enhancing self-efficacy program.Nine professional nurses who care the postpartum mother in Private hospital was purposively recruited andparticipated in this study. The samples of 9 nurses were pretested and protested by using perceived self-efficacyquestionnaires. Nurses’ breastfeeding promoting behaviors were assessed by using nurses’ breastfeeding promotingbehaviors questionnaires from 18 cesarean mothers after intervention the program. Descriptive statistics andWilcoxon Signed-Rank test were used to analyze the data.This study found that the mean of perceived self-efficacy score after intervention the program increasedsignificantly (p = .008), and the mean of nurses’ breastfeeding promoting behaviors score was at moderate level( = 37.83, 70.06 %). The findings of this study support the benefit of the enhancing self-efficacy programfor promoting breastfeeding. The further study will need long-term follow up nurses’ breastfeeding promotingbehaviors.

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบก่อนการทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลต่อการรับรู้สมรรถนะตนเองและพฤติกรรมของพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตร กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานดูแลมารดาหลังคลอดในโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 9 ราย ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดทฤษฏีการรับรู้สมรรถนะตนเองของแบนดูรา (Bandura, 1997) เก็บรวบรวมข้อมูลการรับรู้สมรรถนะตนเองของพยาบาล ก่อนและหลังการเข้าโปรแกรม โดยใช้แบบวัดการรับรู้สมรรถนะตนเองของพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และติดตามประเมินพฤติกรรมของพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังได้รับโปรแกรมจากการสอบถามกลุ่มตัวอย่างมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรจำนวน 18 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Wilcoxon Signed-Rank test

ผลการวิจัยพบว่า คะแนนการรับรู้สมรรถนะตนเองของพยาบาลหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = .008 และพฤติกรรมของพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรหลังได้รับโปรแกรมพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนประโยชน์ของโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปควรเพิ่มระยะเวลาในการติดตามพฤติกรรมของพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

Downloads