การพัฒนาแบบวัดการพยาบาลเอื้ออาทรผู้สูงอายุตามการรับรู้ของผู้สูงอายุ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (DEVELOPMENT OF AGE-FRIENDLY NURSING CARE SCALE PERCEIVED BY HOSPITALIZED OLDER PERSONS)
คำสำคัญ:
การพัฒนาแบบวัด, การพยาบาลเอื้ออาทรผู้สูงอายุ, การรับรู้, ผู้สูงอายุในโรงพยาบาล, Age-friendly nursing care, perception, older person, hospitalบทคัดย่อ
ABSTRACT
This methodological research aimed to develop the age-friendly nursing care scale as perceived by hospitalized older person. The sample was 300 hospitalized older persons, including males and females. The Age-friendly Nursing Service System: KKU Model (AFNS System) modified from WHO’s Age friendly Primary Care Service System (2004) was used as the conceptual framework of this study.
Results: The construct validity using exploratory factor analysis of the age-friendly nursing care scale as perceived by hospitalized older person revealed 7 constructs (29 items): 1) Nursing care and hospital environment (8 items); 2) Nurses’ attitudes and communications (4 items); 3) Organizational management in response to the needs of older persons (5 items); 4) Respect and advocating for the rights of older persons (5 items); 5) Supporting of older persons’ autonomy (3 items); 6) Resources of older persons and their families during hospitalization (2 items); and 7) Promotion of family care for older persons (2 items). The cumulative percentage of the scale’s variance was 67.71. The reliability analysis using Cronbach’s alpha coefficient showed the value of 0.79. The developed scale has accepted content validity, construct validity, and reliability. Thus, this developed scale can be used to measure age-friendly nursing care as perceived by hospitalized older persons
การวิจัยเชิงวิธีการ (Methodological research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดการพยาบาลเอื้ออาทรผู้สูงอายุตามการรับรู้ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุชายและหญิง จำนวน 300 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ศึกษาโดยใช้กรอบแนวคิดระบบบริการเอื้ออาทรผู้สูงอายุโมเดลมหาวิทยาลัยขอนแก่น (Age-friendly Nursing Service System: KKU Model หรือ AFNS: KKU Model) ที่พัฒนาจากระบบบริการที่เอื้ออาทรผู้สูงอายุในระดับปฐมภูมิขององค์การอนามัยโลก
ผลการวิจัย การวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างโดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของแบบวัดการพยาบาลเอื้ออาทรผู้สูงอายุตามการรับรู้ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พบมี 7 องค์ประกอบ (รวม 29 ข้อ) คือ 1) การพยาบาลและการจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุในโรงพยาบาล (8 ข้อ) 2) เจตคติและการสื่อสารของพยาบาล (4 ข้อ) 3) การจัดองค์กรเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้สูงอายุ (5 ข้อ) 4) การเคารพและพิทักษ์สิทธิ์ผู้สูงอายุ (5 ข้อ) 5) การสนับสนุนความเป็นเอกสิทธิ์ของผู้สูงอายุ (3 ข้อ) 6) แหล่งสนับสนุนผู้สูงอายุและครอบครัวขณะอยู่ในโรงพยาบาล (2 ข้อ) และ 7) การส่งเสริมครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ (2 ข้อ) อธิบายความแปรปรวนสะสม ได้ร้อยละ 67.713 วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบวัด พบมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.79 แบบวัดที่พัฒนาขึ้นนี้ มีความตรงตามเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง และความเที่ยง สามารถนำไปใช้วัดการพยาบาลเอื้ออาทรผู้สูงอายุตามการรับรู้ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้