ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจผู้เรียนต่อรูปแบบการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการฝึกปฏิบัติรายวิชาการประเมินภาวะสุขภาพ A STUDY OF ACADEMIC ACHIEVEMENT AND SATISFACTION LEVELS OF A STUDENT-CENTERED MODEL OF PRACTICE REGARDING THE HEALTH ASSESSMENT S

ผู้แต่ง

  • มยุรี ลี่ทองอิน

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, วิชาการประเมินภาวะสุขภาพ a student-centered model, health assessment subject

บทคัดย่อ

การวิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 2) ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนต่อรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการฝึกปฏิบัติวิชาการประเมินภาวะสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 261 211 การประเมินภาวะสุขภาพ จำนวน 70 คน โดยเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ศึกษาระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม  – 30 กันยายน 2556 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามระดับความพึงพอใจของผู้เรียนแบบมาตราส่วน 5 ระดับ ค่าความตรงของเนื้อหาและความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ 0.96 และ 0.95  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการฝึกปฏิบัติอยู่ระดับดี
  2. ความพึงพอใจต่อรูปแบบนี้ในระดับมากที่สุด(ร้อยละ 84.77) โดยมีความพึงพอใจด้านผู้สอนที่ให้กำลังใจในการฝึกปฏิบัติถึงร้อยละ 84.8  รองลงมาได้แก่คู่มือการฝึกที่มีความสะดวกในการใช้และพกพาร้อยละ 83.4 ขณะที่ความพึงพอใจเกี่ยวกับ e-learning ของวิชาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 59.6 สอดคล้องกับข้อเสนอแนะที่พบว่า คู่มือฝึกปฏิบัติมีเนื้อหากระชับทำให้มีแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างครบถ้วนและเป็นลำดับขั้นตอน พร้อมกันนี้การจัดแหล่งเรียนรู้ในห้องฝึกปฏิบัติการทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอภิปราย ซักถาม ทบทวน และสรุปสาระสำคัญร่วมกับผู้สอน

           ด้วยรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเน้นให้ผู้เรียนสามารถกำกับตนเอง ดังนั้นจึงควรนำผลที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอนสำหรับวิชาปฏิบัติการอื่นๆ ในห้องปฏิบัติการเพื่อเน้นให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียน ร่วมทั้งการพัฒนาปรับระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลายต่อไป 

A classroom research with descriptive design was implemented 1) to evaluate the academic achievement of performance and 2) to determine the satisfaction level of learners towards the Student-Centered model of practice in the subject of Health Assessment (HA-Lab model). Participants were 70 sophomore nursing students enrolled for Health Assessment during 1st May – 30th Sept., 2013. A purposive random sampling approach was used. Data was collected using a demographics questionnaire and a five-rating scale satisfaction questionnaire. The CVI and reliability of the questionnaires were 0.96 and 0.95 respectively. Descriptive statistics were also used in this study.

      The research results found that:

  1. The academic achievement of performance was at a good level.
  2. The satisfaction level of the learners towards the HA-Lab model was at the highest level (84.77%). In the aspect of faculties who encouraged learners during practice and for the manual which was easy to carry and available to use were at the highest levels (84.8% and 83.4% respectively). Meanwhile, the overall satisfaction level towards e-learning was high (59.6%). According to the comments, the manual was concise, and contributed to a complete process with well-organized steps. Moreover, the provision of learning resources in the nursing laboratory promoted discussion and revision between learners and faculties.

With the HA-Lab model, the learners were able to monitor themselves amid self-directed learning. Therefore, the results from the study may be used to recommend further improvement of classroom instruction in other practicing courses whereby focusing on the integration of learners into the learning plan as well as the improvement of the information technology network for more varied learning.

 

Downloads