ประสบการณ์ชีวิตของนักศึกษาพยาบาลระหว่างการฝึกปฏิบัติวิชาชีพในโรงพยาบาล LIVED EXPERIENCES OF NURSING STUDENTS DURING THEIR PROFESSIONAL PRACTICES IN HOSPITALS

ผู้แต่ง

  • อาภา หวังสุขไพศาล
  • รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์
  • กนกนุช ชื่นเลิศสกุล

คำสำคัญ:

ประสบการณ์ชีวิตของนักศึกษาพยาบาล/ การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในโรงพยาบาล/ ปรากฏการณ์ วิทยาการตีความ LIVED EXPERIENCES OF NURSING STUDENTS/ PRACTICES IN HOSPITALS/ INTERPRETIVE PHENOMENOLOGY

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายแก่นสาระของประสบการณ์ชีวิตของนักศึกษาพยาบาลระหว่างการฝึกปฏิบัติวิชาชีพในโรงพยาบาล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยปรากฏการณ์วิทยาการตีความ (Interpretive Phenomenology) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลคือนักศึกษาพยาบาลที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 2 3 และ4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง มีประสบการณ์การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในหอผู้ป่วย เกณฑ์การคัดเลือกพิจารณาจากระดับชั้นปี ผลการศึกษา และเพศ จำนวนผู้ให้ข้อมูล 13 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) ตามแนวทางของแวน มาเนน

           ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ชีวิตของนักศึกษาพยาบาลระหว่างการฝึกปฏิบัติวิชาชีพในโรงพยาบาล คือ การพยายามประคองตนในเส้นทางสู่ความเป็นพยาบาล ประกอบด้วย 1) สิ่งดีที่พบ เป็นความรู้สึกดีที่นักศึกษาพยาบาลได้รับจากการฝึกปฏิบัติวิชาชีพ 2) ผลลบที่เกิด เป็นผลกระทบทางลบจากการฝึกปฏิบัติวิชาชีพทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ที่เกิดจากสภาพแวดล้อม 3) การจัดการปัญหาที่เผชิญ และ 4) พัฒนาตนสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ผู้วิจัยเสนอแนะให้อาจารย์นิเทศการฝึกปฏิบัติงิชาชีพและอาจารย์ฝ่ายพัฒนานักศึกษาส่งเสริมประสบการณ์ที่ดีแก่นักศึกษาเพิ่มมากขึ้นและต่อเนื่อง จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษาเพื่อป้องกันและบรรเทาผลลบที่อาจเกิดขึ้น เพิ่มสมรรถนะในการจัดการปัญหาและการพัฒนาตนสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ร่วมกับการปรับเปลี่ยนมุมมองเพื่อการปรับเปลี่ยนความหมายของผลลบให้เป็นผลบวก เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถประคองตนในเส้นทางสู่ความเป็นพยาบาลได้อย่างราบรื่น  

This research objective was to describe the core essence of lived experiences of nursing students during their professional practices in hospitals. Interpretive phenomenology was used in this study. Research participants were 13 students studying in year 2, 3, and 4 at nursing faculty of a government university. The criterions to select students are level of study, GPA and sex. Purposive sampling was used in this study.

               The results showed that lived experiences of nursing students during their professional practices in hospitals including: 1) Found good things means good feeling receiving from clinical practice 2) negative effects means physical, psycho and emotional negative effects from clinical practice 3) Solving problems and 4) changing to their development. Suggestions from this study, including to promote a positive experience for the students from administrative committee of curriculum and course as well as lecturers in student - development affairs increasingly and continually, To provide preparing activities to prevent and mitigate the negative potential, To increase capacity of problem solving and self development for better change, To change perspective for changing meaning to positive and to encourage students to support their route to be a nurse smoothly.  

Downloads