รูปแบบการดูแลสุขภาพที่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่นนท์ เมืองอุดรธานี The Home Care Model of Mae-Non Tambon Health Promoting Hospital, Muang Udon thani
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ การดูแลสุขภาพที่บ้าน The development of model, Home careบทคัดย่อ
หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิเป็นบริการสุขภาพเป็นด่านแรกสำหรับประชาชนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพอย่างองค์รวม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพที่บ้านโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการ 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์สุขภาพ มีผู้ร่วมวิจัยจำนวน 11 คน เก็บข้อมูลโดย ศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม และจากแฟ้มสุขภาพครอบครัวรายงานผลการดำเนินงานประจำปี ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริการดูแลสุขภาพที่บ้านโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 40 คน และประเมินความเหมาะสม ความสอดคล้องของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 11 คน ผู้ร่วมวิจัยได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงทุกขั้นตอน ทำการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการตรวจสอบแบบสามเส้า ตรวจสอบจากสมาชิก นำมาจัดกลุ่มและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลวิจัยได้ดังนี้
สถานการณ์สุขภาพของประชาชน พบปัญหาสุขภาพมีผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง ที่เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้พิการและผู้ป่วยหอบหืด การดูแลสุขภาพของชุมชน: เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยประชาชนจะซื้อยารับประทานเองหรือไปรับบริการคลินิกในหมู่บ้าน กรณีเจ็บป่วยรุนแรงจะพึ่งพาหน่วยบริการปฐมภูมิ และโรงพยาบาลประจำจังหวัด ปัญหาอุปสรรคในการบริการสุขภาพคือ พบผู้ป่วยบางรายไม่มารับการรักษาตามนัด การรักษาไม่ต่อเนื่อง ส่วนปัญหาการจัดบริการสุขภาพที่บ้าน ยังไม่มีรูปแบบการบริการสุขภาพที่บ้านที่ชัดเจน ผู้ร่วมวิจัยส่วนใหญ่ต้องการให้มีรูปแบบบริการดูแลสุขภาพที่บ้านที่ชัดเจน นอกจากนี้ผู้ร่วมวิจัยมีความเห็นตรงกันว่า ครอบครัวและชุมชนควรเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพที่บ้าน รูปแบบการบริการสุขภาพที่พัฒนาขึ้นได้แบ่งประเภทผู้ป่วย ออกเป็น 4 ประเภทคือ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนและขาดผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนสามารถดูแลตนเองได้ และผู้ป่วยหลังกลับจากการรักษาโรงพยาบาล สำหรับผู้ให้บริการดูแลสุขภาพที่บ้านนอกจากเป็นเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพแล้วยังต้องมีเครือข่ายในการให้บริการ เช่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสา บุคคลในครัวเรือน ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการบริการสุขภาพที่บ้านที่พัฒนาขึ้นโดยการมีส่วนร่วม โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความสอดคล้อง
ข้อเสนอแนะการวิจัย การทำความความเข้าใจสถานการณ์สุขภาพและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสุขภาพโดยสมาชิกในชุมชน จะทำให้ชุมชนมีความรู้สึกของการเป็นเจ้าของสุขภาพ ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดบริการดูแลสุขภาพที่บ้านต้องมีการศึกษาเพื่อการปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสมสถานการณ์สุขภาพที่เปลี่ยนไป
Primary health care is the first line for the health service for individual level, families and communities, focusing on holistic health care. This research aims to develop a model of primary health service where the participatory action research was conducted. The research consists of two stages. The 1st stage was to study health situation, participants consisted of 11 stakeholders. Data was collected by in-depth interview, focusing on group discussion, family folders and the annual report. The 2ndstage was to develop a home care service model by 40 stakeholders. The participation action was done in this step. Participants jointly organized home health care service model. The home health care model was verified by 11 experts. Participants at all stage were purposively recruited. The reliability of the qualitative data was checked by member checking and triangulation method. The data were grouped and analyzed by content analysis until it was saturated. The quantitative data at all stages were analyzed by the mean and standard deviation. The results were as follows: The situation of community health : There were the patients with chronic diseases with both diabetes and hypertension, followed by those with disabilities and asthma patients. The community health care: when they have a minor illness they always go to a health place in community or clinic. In the case of getting serious illness, they will get the services of the primary health care or province hospital. The barriers of health care services lack of continuity treatment with regard to the patient misses to follow the appointment. The home care service did not have the clear pattern. In the needs of the primary care service, most participants preferred to the home care services model, with a clear personnel to be used as a guideline for home health care. In addition, Most participants have agreed that families member and communities should be involved in home health care. The development of the home care service model through community participation was the model which was developed to arrange home health services, the patients were categorized into four types for home care service by participants as follows: the patients with end stage, chronic diseases with complication patients without a care giver, the patients with chronic disease without complications who can self care, and patients who discharge from the hospital. The home health care providers also need to have the networks such as health volunteers, community leaders, volunteers or members of the household. The developed home care model in collaboration in developed was found at the high appropriate level. In terms of consistency, most of the experts agreed that the model of the home care service which was developed was appropriate and consistent.
Recommendations from the study are as follows: The understanding in community health and participate in solving health problems of community members make them to have sense of ownerships of their health. Effectiveness of home care service model should be further studied for improving and updating the model to suit for the health situation.