ผลของโปรแกรมการกระตุ้นประสาทสัมผัสด้วยเสียงเพลงกล่อมของมารดา ร่วมกับการไกวเปลต่อการเจริญเติบโตและระยะเวลาการนอนหลับของทารกเกิดก่อนกำหนด Effects of Sensory Stimulation Program by Mother’s Lullabying and Cradling on Growth and Sleep Time of Premature Infa

ผู้แต่ง

  • มธุสร ปลาโพธิ์
  • เสาวมาศ เถื่อนนาดี
  • ภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการกระตุ้นประสาทสัมผัส เพลงกล่อมเด็ก ไกวเปล ทารกเกิดก่อนกำหนด sensory stimulation program, lullaby, cradle, premature infant

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกระตุ้นประสาทสัมผัสด้วยเสียงเพลงกล่อมของมารดาร่วมกับการไกวเปลต่อการเจริญเติบโตและระยะเวลาการนอนหลับของทารกเกิดก่อนกำหนด โดยใช้กรอบแนวคิด The synactive theory (Als Heidelise) เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด  จำนวน 20 ราย  แบ่งเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 ราย   เครื่องมือที่ใช้ได้แก่  1)โปรแกรมการกระตุ้นประสาทสัมผัส ประกอบด้วย แผนการสอนมารดา  คู่มือมารดา แผ่นเพลงและหนังสือเพลงกล่อมเด็ก   2) แบบบันทึกผล ประกอบด้วย  แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของมารดาและทารก  แบบสังเกตทักษะของมารดา แบบบันทึกการเจริญเติบโต  แบบบันทึกระยะเวลาการนอนหลับ เครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา  วิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสังเกตทักษะของมารดาจากสูตรคูเดอร์ริชาร์ตสันโดยใช้ KR-20 ได้ค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.87  มารดากลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติและได้รับการสอนให้บันทึกระยะเวลาการนอนหลับของทารก  ในขณะที่มารดากลุ่มทดลองได้ปฏิบัติตามโปรแกรมโดยการร้องเพลงกล่อมร่วมกับการไกวเปลอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง นานครั้งละ 15 นาที ติดต่อกัน 30 วัน  และทันทึกระยะเวลาการนอนหลับของทารก  วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ  t-test     

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและระยะเวลาการนอนหลับนานกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่ความยาวลำตัว และเส้นรอบศีรษะหลังการทดลองระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน (p > .05)  ดังนั้นผลวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดด้วยวิธีการร้องเพลงกล่อมร่วมกับการไกวเปล  ส่งผลให้ทารกน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและหลับได้นานขึ้น

This quasi-experimental research aimed to study the effects of sensory stimulation program by mother’s lullabying and cradling on growth and sleep time of premature infants. Base on concept framework of the sysactive theory (Als Heidelise). The samples were 20 mothers and their premature babies. They were selected by purposive sampling and divided into experimental and control groups with 10 mothers and their babies  each  group. The Instruments, used in this study 1) Sensory stimulation program consisting of a  protocol for mothers to use sensory  stimulation,  music CD,  music player, lullaby books.  2) Data  collecting instruments consisting of the recording form mothers and their premature babies, observation skills maternal sensory stimulation, the growth and the duration of sleep. These instrumented were tested for validity and tested for reliability by Kruder-Richatdson formula KR-20 were 0.87 respectively. The control group received only conventional nursing care. The experimental group received both conventional nursing care and sensory stimulation program. They received mother’s lullaby and cradle 15 minutes at least once a day in everyday for 30 days. Data were analyzed using t-test.

            The study findings showed that the bodyweight of the experimental group higher than the control group (p < 0.05).  And sleep time of the experimental  group longer than the control group (p < 0.05). But length of body and head circumference between the control group and the experimental group not deference (P > 0.05). This result showed that sensory stimulation by mother’s lullabying and cradling has effects to the sleep time of the  premature infants were sleep longer and  increase of  bodyweight.

Downloads